logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ นอนกรน

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : นอนกรน

นอนกรนเกิดได้จากช่องทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบลง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • มีกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ของลำคอหย่อนยาน เช่น จากสูงอายุ และจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • มีช่องทางเดินหายใจตอนบนแคบกว่าคนทั่วไป เช่น ผนังกั้นโพรงจมูกคด หรือมีลักษณะผิดปกติของขากรรไกร หรือมีเพดานอ่อน และ/หรือลิ้นไก่ยาวกว่าปกติ
  • มีการอุดกั้นช่องทางเดินหายใจจากก้อนเนื้อ เช่น มีก้อนเนื้องอกในโพรงจมูก หรือมีต่อมทอนซิล และ/หรือต่อมอะดีนอย (ต่อมน้ำเหลืองกลุ่มหนึ่งในช่องคอ ซึ่งอยู่เหนือต่อมทอนซิล มักพบในวัยเด็ก) โตจากการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
  • มีคอสั้น หนา เช่น ในโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • การนอนหงาย เพราะเมื่อนอนหงายลิ้นจะตกลงไปในลำคอ จึงก่อการอุดกั้นช่องลำคอ
  • โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ
  • อายุ: ยิ่งสูงอายุขึ้น การทำงานของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจจะเสื่อมหย่อนยานเพิ่มขึ้น
  • ผู้ชาย: พบอาการนี้ได้สูงในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง อาจเพราะผู้ชายมักมีลำคอที่หนา สั้น ช่องลำคอจึงตีบแคบกว่า
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เพราะคนกลุ่มนี้มักมีไขมันในลำคอสูงขึ้น ช่องลำคอจึงแคบกว่าในคนทั่วไป
  • คนที่มีช่องลำคอเล็ก หรือมีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น จมูกคด หรือมีช่องปาก หรือขากรรไกรผิดรูป จึงส่งผลให้เมื่อนอนหลับช่องทางเดินหายใจแคบลง
  • มีโรคต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจตอนบน เช่น มีก้อนเนื้อในโพรงจมูก มีต่อมทอนซิล และ/หรือต่อมอะดีนอยโต จากการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนนอน เพราะแอลกอฮอล์มีผลให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเมื่อนอนหลับ จึงส่งผลให้ช่องลำคอตีบแคบลง
  • นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางคืนบ่อย ไอกรรโชก บ่อยครั้งตื่นโดยไม่รู้สึกตัว คนนอนด้วยจะเป็นคนสังเกตเห็นอาการ
  • คอแห้ง เจ็บคอ เมื่อตื่นนอน เนื่องจากร่างกายมักช่วยการหายใจเพิ่มด้วยการอ้าปากหายใจ
  • มักนอนหลับกลางวัน เพราะกลางคืนนอนไม่เต็มที่
  • สมาธิลดลง
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • มีความดันโลหิตสูง

โดยทั่วไปการนอนกรนมีการพยากรณ์โรคไม่รุนแรง รักษาได้ แต่ถ้าไม่รักษา และเป็นอาการที่เกิดจากโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ ความรุนแรงของโรคจะสูงขึ้น เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้การนอนกรนยังเป็นสาเหตุให้นอนไม่พอ เกิดอาการง่วงซึมได้ในช่วงกลางวัน ซึ่งจะส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงาน และการเรียน และยังเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วยเมื่อง่วงแล้วขับ

คนที่นอนด้วยอาจใช้การเข้านอนก่อนจนหลับ แล้วจึงให้คนนอนกรนเข้านอน หรือใส่หูฟังเพื่อลดการได้ยินเสียงกรน หรืออาจจำเป็นต้องแยกห้องนอน หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ

  • หาสาเหตุ และให้การรักษาสาเหตุ
  • ออกกำลังกาย
  • จำกัดประเภทอาหารในกลุ่มให้พลังงาน  โดยเฉพาะอาหารคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะใกล้ช่วงเข้านอน
  • ฝึกนอนหลับในท่านอนตะแคง