คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst)
- ถุงน้ำชนิด Follicular cyst / ถุงน้ำรังไข่ฟอลลิคิวล่าร์: เกิดจากการที่ไข่เจริญเติบโตในรังไข่ไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการตกไข่ออกจากรังไข่เข้าไปในช่องท้อง ทำให้มีของเหลวคั่งที่ฟองไข่เกิดเป็นลักษณะถุงน้ำได้
- ถุงน้ำ Dermoid cyst / เดอร์มอยด์ซีสต์รังไข่: เกิดจากมีเซลล์ในรังไข่ที่สามารถเจริญเปลี่ยนไปเป็นถุงน้ำที่ภายในเป็นขน เป็นผม เป็นไขมัน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำอยู่ที่บริเวณรังไข่
- Chocolate cyst / ช็อกโกแลตซีสต์: เกิดจากมีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมาจากมดลูกและมาเจริญที่รังไข่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของฮอร์โมนเพศหญิงตามรอบประจำเดือน ทำให้มีเลือดออกที่รังไข่นั้นทุกรอบเดือนและสะสมไปเรื่อยๆ จนเป็นถุงน้ำ
- ถุงน้ำ Serous cystadenoma หรือถุงน้ำ Mucinous cystadenoma: เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของรังไข่
- บางครั้งแพทย์ไม่ทราบสาเหตุการเกิดถุงน้ำรังไข่นั้นๆ
- ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบโดยบังเอิญตอนไปตรวจสุขภาพประจำปีจากการที่แพทย์ตรวจร่างกายโดยการคลำช่องท้อง/ท้องน้อย
- ผู้ป่วยคลำพบก้อนที่ท้องน้อยในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มาก
- ปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลันกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่ เช่น ถุงน้ำบิดขั้วหรือถุงน้ำแตก
- ปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง
- ปวดประจำเดือนเรื้อรัง
- ปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์
- ท้องอืดมีความรู้สึกไม่สบายในท้อง
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากถุงน้ำรังไข่จะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
หากเคยรักษาถุงน้ำรังไข่หายแล้วโรคสามารถกลับเป็นซ้ำได้ ที่พบบ่อยได้แก่ ถุงน้ำรังไข่ช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งหลังหยุดรักษาด้วยยาฮอร์โมนเพศหรือหลังผ่าตัดเลาะถุงน้ำออกแล้ว ถุงน้ำสามารถกลับเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากสาเหตุเกิดของถุงน้ำชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายของผู้ป่วย
หากเป็นถุงน้ำรังไข่ที่ไม่เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีถุงน้ำรังไข่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ทางที่ดีควรรักษาเรื่องถุงน้ำรังไข่ให้หายเสียก่อน หากทราบหลังตั้งครรภ์แล้วว่ามีถุงน้ำรังไข่ แพทย์มักพิจารณาผ่าตัดถ้าถุงน้ำที่มีขนาดใหญ่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่ถ้ารูปลักษณะของถุงน้ำรังไข่เป็นมะเร็ง แพทย์จะรีบผ่าตัดรักษาถุงน้ำโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ของผู้ป่วย