คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ตะคริว
ตะคริว (Muscle cramp) คืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทันทีโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเกิดกับกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อต้นขา แต่ทั้งนี้เกิดได้กับกล้ามเนื้อทุกมัดในร่างกาย ซึ่งกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวจะคลำได้เป็นก้อนแข็งและปวด/เจ็บมาก โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตะคริวคือ นักกีฬา คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ ผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดตะคริวคือ
- สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ มวลกล้ามเนื้อจึงลดลง รวมทั้งขาดการออกกำลังยืดกล้ามเนื้อ
- ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นเกินกำลัง ผิดวิธี หรือผิดท่าทาง เช่น เล่นกีฬาหนัก ยกของหนัก หรือ อาชีพที่ต้อง ยืน เดิน นานๆ
- ร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ที่ใช้ในการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ เกลือแร่ โปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม เช่น เสียเหงื่อมากจากการงาน การกีฬา อากาศร้อน หรือจากโรคเรื้อรังของอวัยวะที่ควบคุมเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง
- ดื่มน้ำน้อย เซลล์กล้ามเนื้อจึงขาดน้ำ (มักเป็นสาเหตุในผู้สูงอายุ)
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดบางชนิด ยาลดไขมันบางชนิด หรือยารักษาทางจิตเวชบางชนิด
- ดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงมักขาดน้ำรวมทั้งกล้ามเนื้อ
- โรคเรื้อรังของกระดูกสันหลังและ/หรือไขสันหลัง จึงส่งผลให้ประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ
- โรคเรื้อรังของปลายประสาทต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดส่วนปลายแข็ง จึงส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี กล้ามเนื้อจึงขาดเลือด
- โรคจากความผิดปกติทางฮอร์โมน เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ และการใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด (เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด)
- ความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย/กลุ่มอาการเมตาโบลิก เช่น โรคเบาหวาน
- โรคตับ และ/หรือ โรคไต เพราะทั้งสองอวัยวะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
- หยุดการใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นทันทีร่วมกับการนวดเบาๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- ช่วงกล้ามเนื้อหดเกร็งมาก การประคบอุ่น/ประคบร้อนอาจช่วยบรรเทาอาการได้
- เมื่อปวด/เจ็บกล้ามเนื้อมาก การประคบเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการได้
- กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดในช่วงหลังกล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว (แต่ไม่สามารถช่วยลดอาการปวดช่วงกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ เพราะยายังออกฤทธิ์ไม่ทัน)
- ควรพบแพทย์เพื่อรักษาทั้งสาเหตุและตัวอาการตะคริว กรณีที่มีอาการปวดมาก หรือมีอาการเป็นตะคริวไม่หายหลังการดูแลตนเองนานเกินกว่า 30 นาที หรือกรณีที่เป็นตะคริวบ่อย
- ดื่มน้ำให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม และให้พอเพียงกับปริมาณน้ำที่ร่างกายเสียไป เช่น เมื่อเหงื่อออกมาก ท้องเสีย หรือ ปัสสาวะมาก
- ไม่นั่ง นอน เดิน นานๆ
- ฝึกยืดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยง/งด งานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเกินกำลัง เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬาหนัก
- เมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักควรมีการอบอุ่น (Warm up) กล้ามเนื้อ ตามวิธีที่ถูกต้องก่อนเสมอ
- กิน ผัก ผลไม้ให้มาก เพราะมีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อสูง เช่น โปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามินบี และวิตามินอี
- สวมรองเท้าที่ไม่รัดเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตบริเวณขาและเท้า
- รักษา/ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ