|
กลาก
|
เกลื้อน
|
ลักษณะ
|
เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ/หรือเล็บ
|
เป็นโรคเชื้อราที่เกิดขึ้นเฉพาะกับผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) เท่านั้น
|
สาเหตุ
|
เกิดจากเชื้อรากลุ่มที่เรียกว่า Dermatophytes และมีปัจจัยเสี่ยง เช่น
- ผิวหนังที่เปียกชื้น
- มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายบกพร่อง เป็นโรคที่มีฮอร์โมนชนิดสเตียรอยด์ในร่างกายสูง เช่น Cushing’s syndrome เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
- การเล่นกีฬาประเภทที่ผิวหนังมีการเสียดสีกันเช่น ยูโด คาราเต้ มวยปล้ำ
|
เกิดจากเชื้อราชื่อ Malassezia spp และมีปัจจัยเสี่ยง เช่น
- สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น ร่วมกับ
- มีพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ
- มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง
- ขาดสารอาหารบางชนิด
|
อาการ
|
- หลังติดเชื้อราโรคกลากมาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มแสดงอาการของโรคกลากในแต่ละตำแหน่งของร่างกาย เช่น ที่ ศีรษะ / เท้า / มือ / เล็บ / ลำตัว / ใบหน้า / บริเวณเคราหนวดและลำคอ / ขาหนีบ
- จะมีชื่อเรียกโรคและอาการที่แตกต่างกันไป เช่น โรคกลากที่ขาหนีบเรียก “โรคสังคัง” โรคกลากที่เท้าเรียก “โรคฮ่องกงฟุต (โรคน้ำกัดเท้า)” โรคกลากที่ศีรษะเรียก “ชันนะตุ”
- ไม่ว่าจะเป็นที่ตำแหน่งไหนก็จะมีอาการคันเป็นหลัก
|
- มีผื่นรูปวงกลมหรือวงรีแบบแบนราบที่มีขอบเขตชัดเจน ผิวสัมผัสของผื่นจะไม่เรียบ
- ผื่นมีลักษณะเป็นขุยละเอียด และมีได้หลายสี ตั้งแต่สีชมพู เทา น้ำตาล น้ำตาลแดง หรือสีออกขาว (คือจางกว่าสีของผิวหนังปกติ)
- มีผื่นหลายๆวง ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ จนกระทั่งเป็นปื้นขนาดใหญ่
- มักพบผื่นตามบริเวณ หน้าอก และแผ่นหลัง เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจพบผื่นบริเวณหน้าท้อง ลำคอ และแขนส่วนต้น มีส่วนน้อยมากอาจพบผื่นที่บริเวณใบหน้า
- ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคัน
|
ภาวะแทรกซ้อน
|
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา รอยโรคบนผิวหนังต่างๆ จะหายไปโดยไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น ผมที่ร่วงก็จะงอกกลับมาใหม่ได้เหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่ศีรษะแบบชันนะตุ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาผมจะร่วงถาวรได้
- อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังเกิดการอักเสบและอาจเป็นฝีหนองขึ้นมา เมื่อรักษาหายก็อาจกลายเป็นแผลเป็นได้
- เชื้อราอาจลุกลามลงลึกไปจากชั้นเคราตินของผิวหนังและทำให้เกิดเป็นตุ่มเนื้ออักเสบในชั้นใต้ผิวหนังได้
- ในบางคนอาจเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Id reaction คือมีการติดเชื้อราที่บริเวณหนึ่ง แต่กลับมีอาการเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นของร่างกายด้วย
|
- ไม่มีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอันตรายถึงชีวิต ไม่ทำให้พิการ แม้ผู้ป่วยจะไม่ได้ใช้ยารักษาเลยก็ตาม
- มีเพียงทำให้ผิวหนังเป็นด่างดวง ดูไม่สวยงามเท่านั้น
|
การติดต่อ
|
ติดเชื้อได้จากการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคกลาก หรือสัมผัสมาจากราที่อยู่ในดินในทราย รวมถึงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคกลาก
|
ไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นจึงไม่ได้ติดต่อกันโดยการสัมผัส
|
การดูแลตนเองและการป้องกันโรค
|
- บริเวณที่เป็นโรคกลากอยู่ต้องระวังอย่าให้เปียกชื้นหรือสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ หรือตลอดเวลา
- ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่นเช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ถุงเท้า หมวก รองเท้า เครื่องนอน
- รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นข้อพับและซอกต่างๆของร่างกายด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด อาบน้ำเสร็จแล้วซับให้แห้งอย่าปล่อยให้เปียกชื้น
- เล็บมือเล็บเท้าควรตัดให้สั้นเสมอ รองเท้าแบบหุ้มส้นไม่ควรให้แน่นเกินไป และหมั่นนำออกตากแดดเสมอ
- ผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ หรือตลอดเวลาควรป้องกันด้วยถุงมือยาง รองเท้าบู๊ท หรือเสื้อยาง เป็นต้น
|
- ควรรักษาความสะอาดของร่างกายไม่ให้เหงื่อไคลหมักหมม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ถ้าเหงื่อออกมาก ให้อาบน้ำบ่อยๆ และเช็ดตัวให้แห้ง
|
*อนึ่ง: สำหรับโรคเกลื้อนน้ำนม หรือกลากน้ำนม หรือ Pityriasis alba ไม่ใช่โรคเกลื้อนหรือโรคกลากที่แท้จริง และไม่ได้เกิดจากเชื้อรา แต่เป็นโรคที่เซลล์สร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้าสร้างเม็ดสีลดลง ทำให้เกิดเป็นผื่นแบนราบสีออกขาว ดูคล้ายโรคเกลื้อนได้ แต่ผื่นในโรคเกลื้อนน้ำนมมักพบบริเวณใบหน้า และขอบเขตของผื่นจะไม่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างกับผื่นของโรคเกลื้อน