คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : กล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle หรือ Skeletal muscle) หรืออีกชื่อคือ กล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ในการควบคุมของสมอง (Voluntary muscle) เช่น กล้ามเนื้อของ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ลำตัว แขน ขา และกระบังลม มีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งทำงานประสานกับกระดูกและข้อ ผ่านทางเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก และข้อ โดยในผู้ชาย กล้ามเนื้อลายจะคิดเป็นประมาณ 42% ของมวลกายทั้งหมด (Body mass) ส่วนในผู้หญิงจะมีกล้ามเนื้อลายน้อยกว่าผู้ชาย คือ ประมาณ 36% ของมวลกายทั้งหมด
- กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) หรืออีกชื่อคือ กล้ามเนื้อที่ทำงานด้วยระบบของตัวเอง ขึ้นกับสมองเป็นบางส่วนโดยมักผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน เช่น กล้ามเนื้อของ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทวารหนัก หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หลอดเลือด มดลูก และในบริเวณผิวหนังตรงรูขุมขนที่ทำหน้าที่ทำให้เกิดขนลุก
- กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อเรียบชนิดลักษณะเฉพาะ คือโครงสร้างเนื้อเยื่อคล้ายกล้ามเนื้อลาย แต่ทำงานเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งพบได้ที่เดียวในร่างกาย คือ ที่หัวใจ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานบีบและคลายตัวอยู่ตลอดเวลา
- จากการใช้งานกล้ามเนื้อเกินกำลังซ้ำๆ ต่อเนื่อง และ/หรือ ผิดวิธี เช่น ปวดหลัง หรือ ปวดไหล่จากการยกของหนัก หรือ ปวด คอ ไหล่ แขน นิ้ว จากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสาเหตุจากอุบัติเหตุและการกีฬา เช่น กล้ามเนื้อแพลง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นตะคริว เป็นต้น ซึ่งสาเหตุในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้บ่อยเกือบทุกวันในการใช้ชีวิตประจำวัน
- จากการอักเสบของเส้นประสาทของสมอง และ/หรือของไขสันหลัง เช่น จากโรคเบาหวาน โรคใบหน้าเบี้ยว/ อัมพาตเบลล์ หรือโรคโปลิโอ
- จากโรคทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของไขสันหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
- จากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น ยาลดไขมันบางชนิด หรือยาต้านฮอร์โมนรักษาโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด
- จากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย เช่น จากโรคออโตอิมมูน/ โรคภูมิต้านตนเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อโดยไม่มีการติดเชื้อ หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis)
- ภาวะขาดอาหาร โดยเฉพาะอาหารโปรตีน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามวัยอันควร
- ปวด เมื่อย กล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- กล้ามเนื้อ ฝ่อ/ลีบ
- เป็นตะคริว
- กล้ามเนื้อหดยึดตัว (Contraction) ไม่สามารถ ยืด หด ได้ตามปกติ
- กล้ามเนื้อ สั่น หรือ กระตุกโดยควบคุมไม่ได้
นอกนั้น อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ เช่น
- มีไข้ และ/หรือขึ้นผื่น เมื่อเกิดจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
- ปวดข้อ เช่น จากผลข้างเคียงของยา
- มีก้อนเนื้อ หรือมีแผลเรื้อรังที่กล้ามเนื้อ เมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง
- มีอาการชา เมื่อเกิดจากโรคของสมอง โรคไขสันหลัง หรือ โรคของเส้นประสาท
- มีหนอง เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ เป็นต้น