TB ไม่ยอมตาย (ตอนที่ 4)

TBไม่ยอมตาย-4

      

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคซึ่งควรได้รับการตรวจ (ต่อ)

  • เป็นโรคมะเร็งหรือได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ
  • เป็นโรคปอดฝุ่นหินทราย (Silicosis)
  • เสพสารเสพติดทางหลอดเลือด
  • สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
  • มาจากประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรค เช่น ประเทศแถบละตินอเมริกา แอฟริกา และ เอเชีย
  • อาศัยหรือทำงานในบริเวณที่มีการติดเชื้อวัณโรค เช่น คุก หรือ สถานพยาบาล (Nursing homes)
  • ทำงานในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยวัณโรค
  • เด็กที่สัมผัสกับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นวัณโรค

ในการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการ

  • ตรวจต่อมน้ำเหลือง
  • ใช้หูฟัง (Stethoscope) ฟังปอดขณะหายใจ
  • ตรวจเลือด เพิ่อดูว่าระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาต่อเชื้อแบคทีเรียหรือไม่
  • ทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อเชื้อวัณโรคด้วยการฉีด PPD tuberculin ที่ปลายแขน หากภายใน 48-72 ชั่วโมง มีอาการเป็นก้อนนูนแดงแสดงว่ามีการติดเชื้อ อย่างไรก็ดี วิธีการทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนังอาจให้ผลคลาดเคลื่อนได้กรณีที่มีการได้รับวัคซีน Bacillus Calmette-Guerin (BCG) มาในระยะเวลาไม่นาน หรือผลอาจคลาดเคลื่อนในเด็กผู้สูงอายุผู้ติดเชื้อเอดส์
  • ภาพวินิจฉัย เช่น เอ็กซเรย์ ซีทีสแกน
  • ตรวจเสมหะ (Sputum tests)

สำหรับการรักษาอาจใช้เวลานานกว่าการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น โดยการรักษาวัณโรคระยะแสดงอาการต้องใช้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 6-9 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุ และสุขภาพของผู้ป่วย ตลอดจนการดื้อยาและตำแหน่งที่ติดเชื้อ โดยวัณโรคระยะแฝงอาจใช้ยาแค่ 1 หรือ 2 ตัว ในขณะที่วัณโรคระยะแสดงอาการและมีการดื้อยาอาจต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาที่ใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ยา

  • Isoniazid
  • Rifampin
  • Ethambutol
  • Pyrazinamide

แหล่งข้อมูล:

  1. Tuberculosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tuberculosis/symptoms-causes/syc-20351250 [2020, May 27].
  2. Tuberculosis. https://www.who.int/health-topics/tuberculosis#tab=tab_1 [2020, May 27].
  3. Tuberculosis (TB). https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm[2020, May 27].