Bionic Kidney (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

BionicKidney-2

      

      ในปัจจุบันมีผู้แจ้งความจำนงบริจาคอวัยวะอยู่ที่ 73,190 ราย อย่างไรก็ตามแม้จะมีผู้แจ้งความจำนงบริจาคหลายราย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมในหลายปัจจัยทั้งผู้บริจาค ผู้รอรับบริจาค และต้องขึ้นอยู่กับดุยลพินิจของแพทย์ด้วยเช่นกัน

      สำหรับในสหรัฐอเมริกา The National Kidney Foundation ได้เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2559 มีผู้รอคอยรับการบริจาคไตอยู่ถึง 100,791 ราย และมีจำนวนผู้รอคิวเพิ่มขึ้น 3,000 ราย ในทุกเดือน

      ดังนั้น หากโครงการไตเทียมที่อยู่ระหว่างการวิจัยและรอการทดสอบในคน (Human clinical trials) ประสบความสำเร็จแล้ว ก็น่าจะเป็นเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์วงการแพทย์ ในการที่จะช่วยผู้คนเป็นล้านที่ต้องทรมานจากการฟอกไต (Dialysis) ในการประหยัดเงินได้

      The University of California, San Francisco (UCSF) จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่เรียกว่า Bionic Kidney ที่คาดว่าจะมาใช้ทดแทนการฟอกไตในอีก 2 ปีข้างหน้า

      โครงการไตเทียม Bionic kidney เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ริเริ่มโดย Shuvro Roy PhD ในปี พ.ศ.2553 เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายหรือไตวาย โดยอุปกรณ์ Bionic kidney จะมีขนาดประมาณถ้วยกาแฟ ถูกผ่าตัดปลูกถ่ายในตัวผู้ป่วย เพื่อทดแทนการรอรับบริจาคไตและลดความทรมานจากกระบวนการล้างไต โดยคาดว่า Bionic kidney จะช่วยประหยัดค่าดูแลผู้ป่วยโรคไตได้มาก

      ปัจจุบันโครงการ Bionic kidney ดูแลรับผิดชอบโดย Shuvro Roy PhD ศาสตราจารย์จาก UCSF และ William Henry Fissell M.D รองศาสตราจารย์จาก Vanderbilt University Medical Center โดยมีฐานการวิจัยอยู่ที่ UCSF พร้อมด้วยทีมงานวิจัยที่กระจายกันอยู่ตามมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

      Bionic kidney จะประกอบด้วยไมโครชิปมากมายที่เคลื่อนไหวโดยหัวใจ ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดเช่นเดียวกับการทำงานของไตปกติ

      เมื่อใส่อุปกรณ์เข้าไป เลือดจะไหลผ่านส่วนประกอบ 2 อย่าง ได้แก่

      1. Filter side หรือ ตัวกรอง ซึ่งเป็นแผ่นเยื่อที่ทำจากซิลิโคน (Silicon membranes) มีลักษณะคล้ายไมโครอิเล็กทรอนิกส์หรือไมโครชิปที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ช่วยกรองของเสียออกจากเลือด โดยอุปกรณ์แต่ละตัวจะมีไมโครชิปประมาณ 15 ตัว เรียงเป็นชั้นๆ

      2. Cellular side หรือตัวเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่เลียนแบบไตที่มีชีวิต โดยมีไมโครชิปทำหน้าที่เป็นโครงเลี้ยงเซลล์ (Scaffold) ที่คอยยึดเซลล์ไตที่มีชีวิตซึ่งจะอยู่รอบๆ ไมโครชิป

      ทั้งนี้ ความท้าทายหลักจะอยู่ตรงกระบวนการทำอย่างไรให้เลือดไหลผ่านอุปกรณ์โดยไม่มีการแข็งตัว (Clotting) อุดตัน หรือเสียหาย ซึ่งกรณีนี้วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical engineer) ที่ชื่อ Amanda Bucks ได้ใช้พลศาสตร์ของไหล (Fluid dynamics) เป็นตัวคอยตรวจสอบภาวะดังกล่าว

      นอกจากนี้ อุปกรณ์จะถูกออกแบบให้ Rejection factor เป็นศูนย์ ทำงานได้ดีในการรักษาความสมดุลของระดับโซเดียมและโปตัสเซียม ทั้งยังควบคุมระดับความดันโลหิตได้อีกด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเผยสถิติคนรอไตสูงสุด 95.26%แต่บริจาคแค่ 4% แพทย์ห่วงวิกฤตคนป่วยโรคไตเพิ่ม. http://www.thaitribune.org/contents/detail/307?content_id=30378&rand=1511596911 [2018, April 22].
  2. Latest News and Details Of the Incredible Bio-Artificial Kidney That Can Treat Renal Failure And End Dialysis Completely. http://www.troab.com/artificial-kidney/ [2018, April 22].
  3. The World’s First Bionic Kidney Is All Set To Replace Dialysis in Just Two Years. http://www.troab.com/worlds-first-bionic-kidney-set-replace-dialysis-just-two-years/ [2018, April 22].