5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน (5-Hydroxytryptophan)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน (5-Hydroxytryptophan) หรือเรียกย่อๆว่า 5-เฮชทีพี (5-HTP) หรือมีอีกชื่อว่า Oxitriptan จัดเป็นสารอาหารประเภทโปรตีน พบมากในต้นพืชที่มีถิ่นกำ เนิดจากแอฟริกาตะวันตกมีชื่อว่า Griffonia simplicifolia ซึ่งเป็นต้นพืชที่นำมาผลิตเป็นยารัก ษาอาการนอนไม่หลับรวมถึงภาวะทางอารมณ์นึกคิด ทางคลินิกได้อธิบายเกี่ยวกับ 5-เฮชทีพี ว่าสามารถออกฤทธิ์ที่สมองโดยเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทของสมองที่มีชื่อว่า Seroto nin ส่งผลช่วยให้นอนหลับ ลดความอยากอาหาร มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกาย พฤติกรรมทางเพศ รวมถึงความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย กระบวนการสร้าง Serotonin ในมนุษย์เริ่มจากการได้รับสารอาหารที่เป็นโปรตีนที่เป็นกรดอะมิโนที่เรียกว่า Tryptophan ร่างกายจะเปลี่ยน Tryp tophanไปเป็น 5-HTP จากนั้นเกิดกระบวนการเปลี่ยน 5-HTP ไปเป็นสาร Serotonin

ภาวะพร่องสาร Serotonin จะส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยแสดงอาการต่างๆออกมาเช่น เกิดภาวะวิตกกังวล มีความคิดในเชิงลบโดยไม่มีสาเหตุ ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ ปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า ฉุนเฉียว หงุดหงิด ใจร้อน ชอบบริโภคอาหารหวานๆ หากอยู่ในบรรยากาศที่ครึ้มสลัวๆจะรู้สึกแย่หรือกระวนกระวาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะพร่อง Serotonin อาจสรุปสั้นๆได้ดังนี้

  • ขาดการนอนหลับอย่างเพียงพอ รวมถึงขาดการออกกำลังกาย
  • ขาดการสัมผัสแสงแดดซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
  • ได้รับสารพิษเช่น ยาฆ่าแมลง
  • ขาดอาหารประเภทโปรตีนโดยเฉพาะกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า Tryptophan และรวมถึงขาดสารต้านอนุมูลอิสสระที่ชื่อ Glutathione
  • ดื่มชา - กาแฟเป็นปริมาณมากในแต่ละวัน
  • ขาดสารอาหารกรดไขมันประเภทโอเมกา-3 (Omega-3)
  • มีภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • ขาดฮอร์โมนเพศเช่น Progesterone รวมถึงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์

อนึ่ง: แหล่งอาหารสำคัญที่มีสาร 5-เฮชทีพีสูงได้แก่ นม เนื้อ มันฝรั่ง ฟักทอง และผักใบเขียวต่างๆ

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีถูกนำมาใช้เป็นยาหรืออาหารเสริมเพื่อบำบัดอาการซึม เศร้า อาการนอนไม่หลับ รวมถึงโรคไมเกรน บางกรณียังถูกใช้เพื่อช่วยลดอาการอยากอาหาร และอาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน (PMS, Premanstrual syndrome) แต่ประโยชน์ต่างๆที่กล่าว อ้างมาหลายข้อก็ยังไม่ยืนยันผลทางคลีนิกอย่างเป็นที่แน่ชัด

สำหรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ของยา 5-เฮชทีพีจะเป็นแคปซูลชนิดรับประทานมีขนาด 5 และ 100 มิลลิกรัม/แคปซูล แต่เมื่อต้นปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) เร็วๆนี้เอง ประเทศอังกฤษได้พัฒนา รูปแบบของยา 5-เฮชทีพีเป็นแผ่นพลาสเตอร์แบบปิดผิวหนัง การเลือกใช้ยา 5-เฮชทีพีที่เหมาะสมถูกต้องกับผู้ป่วยนั้นควรต้องเป็นไปตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษาแต่เพียงผู้เดียว

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน

ปัจจุบันการนำยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีมาใช้ทางคลินิกจะใช้รักษาอาการซึมเศร้า

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีคือ ตัวยาจะถูกเอนไซม์ชื่อ ดี คาร์บอกซิเลส (Decarboxylase) เปลี่ยนไปเป็นสาร Serotonin ส่งผลให้เกิดฤทธิ์ในการบำบัดอาการซึมเศร้าตามสรรพคุณ

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นอาหารเสริมแคปซูลชนิดรับประทานขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม/แคปซูล

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีขนาดรับประทานและการบริหารยาอย่างไร?

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีขนาดรับประทานสำหรับรักษาอาการซึมเศร้าเช่น

  • -ผู้ใหญ่: รับประทาน 100 - 300 มิลลิกรัม/วันโดยแบ่งรับประทาน 3 - 4 ครั้ง และควรเริ่ม รับประทานในขนาดที่ต่ำที่สุดก่อน โดยควรรับประทานยานี้ก่อนอาหาร
  • -เด็ก: ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดถึงการใช้ยานี้ในเด็ก การใช้ยานี้ในเด็กจึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

หมายเหตุ:

  • ขนาดและระยะเวลาในการใช้ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งของแพทย์ได้ การใช้ยา 5-ไฮดร็อกซี ทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยา 5-ไฮดร็อกซี ทริปโตเฟนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาและ /หรือกับอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ต่างๆดังนี้เช่น ตรวจเลือดพบมีภาวะเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil ผิดปกติที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Eosinophilia-myalgia syndrome (EMS) หากผู้ ป่วยคนใดมีอาการของ EMS ก็ถือเป็นข้อห้ามใช้ยา 5-เฮชทีพีเช่นกัน

อาการข้างเคียงอื่นๆเช่น แสบร้อนกลางอก (Heart burn) ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้อง เสีย ง่วงนอน และเกิดปัญหาต่อสมรรถนะทางเพศ

มีข้อควรระวังการใช้ 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีเช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยภาวะ Eosinophilia-myalgia syndrome (EMS)
  • หลีกเลี่ยงการใช้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • การใช้ 5-เฮชทีพีกับเด็กต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย Down syndrome ด้วยพบว่าอาจทำให้เกิดอาการชัก
  • ระหว่างการใช้ 5-เฮชทีพีควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดเป็นเวลานานๆด้วยจะทำให้เกิดภา วะผิวไหม้ได้ง่าย
  • ผู้ป่วยที่ใช้ 5-เฮชทีพีและต้องเข้ารับการผ่าตัด ยาที่ใช้ในช่วงผ่าตัดบางกลุ่มอาจทำให้ 5-เฮชทีพีในสมองของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้แพทย์จะแนะนำให้หยุดการใช้ 5-เฮชทีพีเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

อนึ่ง:

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน/5-เฮชทีพีมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยา 5-เฮชทีพีร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม MAOIs หรือกล่ม Selective serotonin reuptake inhibitors อาจทำให้เกิดภาวะมีสาร Serotonin ในสมองเพิ่มสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome รวมถึงมีปัญหากับหัวใจ เกิดอาการสั่นของร่างกายและเกิดภาวะวิตกกังวล หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ 5-เฮชทีพีร่วมกับยา Carbidopa อาจทำให้เสี่ยงกับการเกิดผลข้างเคียงของ 5-เฮชทีพีได้ โดยผู้ป่วยอาจแสดงอาการก้าวร้าว วิตกกังวล พูดจาเร็ว แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาอย่างเหมาะ สมเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ 5-เฮชทีพีร่วมกับยา Dextromethorphan และ Tramadol ด้วยจะทำให้สาร Serotonin ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นจนก่อปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และภาวะทางอา รมณ์
  • ห้ามใช้ 5-เฮชทีพีร่วมกับยา Pentazocine (ยาต้านฤทธิ์มอร์ฟีน/Morphine) ด้วยจะทำให้ระดับ Serotonin ในสมอง/ร่างกายเพิ่มสูงมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรงเช่น Serotonin syndrome ตามมาได้

ควรเก็บรักษา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนอย่างไร?

ควรเก็บยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยา5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
5-HTP 100 mg (5-เฮชทีพี 100 มิลลิกรัม) Healthspan
5-HTP (5-เฮชทีพี) Absorb Health
5-HTP (5-เฮชทีพี) Natrol

บรรณานุกรม

1. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-794-5-htp.aspx?activeingredientid=794&activeingredientname=5-htp [2015,July18]
2. https://www.mims.com/India/drug/info/tryptophan/?type=full&mtype=generic#Dosage [2015,July18]
3. http://www.life-enhancement.com/magazine/article/178-5-htp-enhance-your-mood-your-sleep-and-a-lot-more [2015,July18]
4. http://www.calmclinic.com/anxiety/causes/serotonin-deficiency[2015,July18]
5. http://www.serotune.com/blogs/articles/2659862-what-are-the-symptoms-and-causes-of-serotonin-deficiency[2015,July18]
6. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-794-5-htp.aspx?activeingredientid=794&activeingredientname=5-htp[2015,July18]
7. http://www.emedicinehealth.com/drug-5-hydroxytryptophan/page3_em.htm [2015,July18]
8. http://www.healthspan.co.uk/products/5-htp-100mg?sc_camp=6F478BE964304FFEB6FE4A9201FFA01D&gclid=CMOE2YOlrcYCFQKTjgodd7oFz[2015,July18]
9. http://idealbite.com/do-not-try-5-htp-until-you-read-the-facts/ [2015,July18]
10. http://www.absorbyourhealth.com/product/5-htp-100mg-100-capsules-mood-appetite-support-supplement-relieve-anxiety/?ref=744[2015,July18]
11. http://www.drugs.com/npp/5-htp.html[2015,July18]
12. http://www.holistic-online.com/remedies/sleep/sleep_ins_melatonin-and-5htp.html[2015,July18]
13. http://www.gnc.com/Natrol-5-HTP/product.jsp?productId=2134304 [2015,July18]