ไหลตายในทารก (ตอนที่ 4 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 22 พฤษภาคม 2564
- Tweet
สาเหตุของภาวะศีรษะแบนหรือเบี้ยวผิดรูป (ต่อ)
- เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากกะโหลกของทารกพวกนี้จะอ่อนนุ่มกว่าทารกปกติทั่วไป และทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักถูกบังคับให้นอนหงายเนื่องจากภาวะทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น อยู่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดหรือหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (Neonatal intensive care unit = NICU)
- การช่วยคลอดโดยใช้คีมคีบ (Forceps) หรือ การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum delivery) ที่เครื่องมือมีแรงกดลงบนกะโหลกศีรษะของทารกและกระดูกอ่อน (Malleable bones) ทำให้กระดูกผิดรูป
- โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Muscular torticollis)
ทั้งนี้ จากสถิติในปี 2547 ที่บันทึกไว้จากการสำรวจเด็ก 200 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พบว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะศีรษะเบี้ยวผิดรูปดังนี้
- ร้อยละ 16 ที่อายุ 6 สัปดาห์
- ร้อยละ 19.7 ที่อายุ 4 เดือน
- ร้อยละ 6.8 ที่อายุ 12 เดือน
- ร้อยละ 3.3 ที่อายุ 24 เดือน
พ่อแม่อาจสังเกตได้ถึงภาวะนี้อย่างชัดเจนเมื่อทารกอายุ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งการพบที่เร็วจะทำให้การปรับรูปศีรษะทารกทำได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์อาจใช้วิธีรักษาดังนี้
- การปรับท่านอนตรงข้าม (Counter-position therapy) เช่น นอนหันซ้ายขวา
- การยึดกล้ามเนื้อ (Stretching exercises)
- การใส่หมวกรักษาหัวเบี้ยว (Molding helmet therapy) เพื่อทำให้กะโหลกศีรษะกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่ง American Association of Neurological Surgeons แนะนำว่า ควรทำระหว่างที่ทารกอายุ 3-6 เดือน และใช้เวลารักษาประมาณ 12 สัปดาห์
- การผ่าตัด
สำหรับพ่อแม่อาจใช้วิธีการต่อไปนี้เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ทารกมีภาวะศีรษะแบนบิดเบี้ยว
- การเปลี่ยนท่านอนในเปล เช่น หันซ้ายหรือขวา
- การดูแลให้ทารกฝึกนอนคว่ำ (Tummy time) ระหว่างวัน ซึ่งเป็นการช่วยให้ทารกเกิดการเรียนรู้และทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการคลาน การนั่ง และการเดินต่อไป
- อุ้มทารกให้มากขึ้น
- เปลี่ยนท่าการให้นม เช่น วางผาดแขนซ้ายสลับขวา
แหล่งข้อมูล:
- Flat Head Syndrome (Positional Plagiocephaly). https://kidshealth.org/en/parents/positional-plagiocephaly.html [2021, May 21].
- Understanding Flat Head Syndrome (Plagiocephaly) in Babies. https://www.healthline.com/health/parenting/flat-head-baby [2021, May 21].