ไฟโบรมัยอัลเจีย (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 9 กรกฎาคม 2563
- Tweet
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้ โดยทั่วไปจะใช้ยาและการดูแลตัวเอง เพื่อลดอาการและทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยยาที่ใช้จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น เช่น
- ยาบรรเทาปวด เช่น ยา Acetaminophen ยา Ibuprofen หรือ ยา Naproxen sodium
- ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น ยา Duloxetine และ ยา Milnacipran เพื่อบรรเทาอาการปวดและอ่อนเพลียจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
- ยากันชัก (Anti-seizure drugs) เช่น ยา Gabapentin ยา Pregabalin
ส่วนวิธีการรักษาทั่วไปมีหลายวิธี เช่น
- กายภาพบำบัด (Physical therapy) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น (Stamina) โดยเฉพาะการออกกำลังกายในน้ำ (Water-based exercises) หรือการออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน วันละ 30 นาทีเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าวิธีออกกำลังกายเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุด
- กิจกรรมบำบัด (Occupational therapy) เพื่อปรับท่าทางการทำงานหรือสถานที่เพื่อลดความตึงเครียดของร่างกาย
- การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy = CBT) เพื่อให้รู้จักกลวิธีในการจัดการกับความเครียด
- การฝังเข็ม (Acupuncture)
- ไคโรแพรคติก (Chiropractic)
- การนวด (Massage therapy)
สำหรับการดูแลตัวเองทำได้ด้วยการ
- พยายามผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ
- เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา พยายามหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน จำกัดคาเฟอีน และเลิกสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากของผู้ที่เป็นโรคนี้
- ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคนี้
- มองไปข้างหน้า พุ่งเป้าเพื่อไปยังสิ่งที่จะทำให้ดีขึ้น
แหล่งข้อมูล:
- Fibromyalgia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fibromyalgia/symptoms-causes/syc-20354780 [2020, Jul 8].
- Fibromyalgia. https://www.cdc.gov/arthritis/basics/fibromyalgia.htm [2020, Jul 8].
- Fibromyalgia. https://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Fibromyalgia [2020, Jul 8].