ไฟบริโนเจน (Fibrinogen) ไฟบริน (Fibrin)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 มกราคม 2561
- Tweet
- โรคเลือด (Blood Diseases)
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด/">ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: ยากันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants)
- ยาสลายลิ่มเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic drugs or Thrombolytic drugs)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
ไฟบริโนเจน(Fibrinogen) อีกชื่อคือ “Factor I” เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด/ในน้ำเลือด เป็นสารสร้างจากตับ เป็นสารสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด(ทำให้เลือดหยุดไหล) โดยจะสลายตัวเป็นสารที่เรียกว่า “ไฟบริน(Fibrin)หรืออีกชื่อคือ “Factor Ia”ในกรณีมีการเสียหายของผนังหลอดเลือด และไฟบรินจะจับตัวกันจนเกิดเป็นลิ่มเลือด ซึ่งทางคลินิก ตรวจหาค่าไฟบริโนเจนได้จากการตรวจเลือดจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยค่าปกติ คือ 200 - 400 mg/dL (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) หรือ 2.0 - 4.0 g/L(กรัม/ลิตร)
ไฟบริน(Fibrin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ไม่ละลายในน้ำ เป็นสารฯในน้ำเลือด มีลักษณะคล้ายเส้นใย โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของไฟบริโนเจนเมื่อผนังหลอดเลือดเสียหาย ทั้งนี้ ไฟบรินมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการทำให้เกิดลิ่มเลือด
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibrinogen [2017,Dec30]
- https://medlineplus.gov/ency/article/003650.html [2017,Dec30]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Fibrin [2017,Dec30]