ไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 2 พฤศจิกายน 2558
- Tweet
- บทนำ
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ไตรเฮกซีเฟนิดิลอย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาไตรเฮกซีเฟนิดิลอย่างไร?
- ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- แอนตี้มัสคารินิก (Antimuscarinic drugs)
- โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- โปแตสเซียมซิเตรท (Potassium citrate)
- โพแทสเซียม คลอไรด์ (Potassium chloride)
- เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding or GI bleeding)
- ลำไส้อุดตัน (Intestinal obstruction)
บทนำ
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) เป็นยาในกลุ่มแอนตี้มัสคารินิก (Antimuscarinic drugs) ทางคลินิกได้นำมารักษาอาการโรคพาร์กินสัน สามารถใช้เป็นลักษณะของยาเดี่ยวๆหรือจะ ใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาก็ได้ โดยปกติยานี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้กลับมาเหมือนปกติ รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้จะเป็นยารับประทานทั้งชนิดเม็ด แคปซูล และยาน้ำ
ก่อนการเลือกใช้ยานี้แพทย์จะประเมินผลโดยอาศัยข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยมาประกอบดังนี้ เช่น
- มีประวัติแพ้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลหรือไม่
- หากอายุต่ำกว่า 18 ปีแพทย์จะไม่เลือกใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยอาจเกิดความเสี่ยงของการได้รับพิษจากตัวยา
- มีโรคประจำตัวอะไรบ้างที่เป็นข้อห้ามใช้ยานี้เช่น โรคต้อหิน ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด โรคหัวใจบางประเภท ด้วยการใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงมากยิ่งขึ้น
- หากเป็นสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วยข้อมูลทางคลินิกที่จะมาสนับสนุนความปลอดภัยของการใช้ยากับผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีน้อย
- มีการรับประทานยาใดๆอยู่ก่อนด้วยยาบางกลุ่มสามารถทำปฏิกิริยาระหว่างยากับตัวยาไตรเฮกซีเฟนิดิลจนผู้ป่วยได้รับอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ที่รุนแรงติดตามมา
ทั้งนี้การรักษาอาการโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยจะต้องได้รับยานี้อย่างต่อเนื่อง แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ดูแลและปรับขนาดการใช้ยานี้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ระหว่างใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลผู้ป่วยจะได้รับคำชี้แจงเรื่องความก้าวหน้าของการรักษาและอาการข้างเคียงต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่น
- อาจมีอาการวิงเวียน ง่วงนอน ตาพร่า ระหว่างที่มีการใช้ยานี้และอาการดังกล่าวจะรุนแรงขึ้น หากผู้ป่วยดื่มสุราร่วมกับยาที่รับประทาน และควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆรวมถึงการทำงานกับเครื่องจักร หากมีอาการข้างเคียงดังกล่าวด้วยอาจเกิดอันตรายได้
- ขณะที่รักษาด้วยยานี้ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด ด้วยภาวะร่างกายที่ได้รับยาไตรเฮกซีเฟนิดิลจะสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงๆได้น้อยลง
สำหรับประเทศไทยโดยคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดให้ไตรเฮกซีเฟนิดิลเป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติโดยระบุให้อยู่ในหมวดยาอันตราย
ข้อสำคัญการใช้ยานี้ที่เหมาะสมจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
อนึ่งยาชื่อการค้าอื่นของยานี้ที่จำหน่ายในต่างประเทศเช่น Apo-Trihex, Parkin, Pacitane, Trihex
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการโรคพาร์กินสัน
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไตรเฮกซีเฟนิดิลคือ ตัวยาจะแสดงฤทธิ์ของ Antimuscarinic drug และแสดงฤทธิ์ในการยับยั้งระบบประสาทอัตโนมัติชนิดพาราซิมพาเทติก (Parasympathetics) ของร่างกายส่งผลในการปรับสมดุลใหม่ของสารสื่อประสาทที่เหมาะสม จึงก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 2 และ 5 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 5 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาน้ำชนิดรับประทาน ขนาด 0.4 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลมีขนาดรับประทานสำหรับรักษาอาการโรคพาร์กินสันเช่น
- ผู้ใหญ่: วันแรกรับประทาน 1 มิลลิกรัมวันละครั้ง วันที่สองรับประทาน 2 มิลลิกรัมวันละครั้ง จากนั้นแพทย์อาจเพิ่มขนาดรับประทานทุก 2 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดรับประทานเพื่อคงระดับการรักษาอยู่ที่ 6 - 10 มิลลิกรัม/วันโดยแบ่งรับประทานวันละ 3 - 4 ครั้ง
- เด็กและผู้อายุต่ำกว่า 18 ปี: ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดถึงผลข้างเคียงของยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การใช้ยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเป็นกรณีไป
*อนึ่ง:
- การใช้ยานี้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีแพทย์จะปรับขนาดรับประทานลดลง
- สามารถรับประทานยานี้ก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาไตรเฮกซีเฟนิดิล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาไตรเฮกซีเฟนิดิลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไตรเฮกซีเฟนิดิลสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น
ก. อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย: เช่น วิงเวียน คลื่นไส้เล็กน้อย กระสับกระส่าย
ข: อาการข้างเคียงที่พบได้แต่น้อย: เช่น ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ปากแห้ง เบื่ออาหาร และมีผื่นคัน
ค. อาการของผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาด: จะพบอาการหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ขาดสติ หายใจลำบาก มีภาวะชัก มีไข้ ตัวร้อน ผิวแห้ง รูม่านตาขยาย ตาพร่า มีอาการสับสน หรือเกิดประสาทหลอน หากพบอาการดังกล่าวควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
มีข้อควรระวังการใช้ไตรเฮกซีเฟนิดิลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคต้อหิน โรคลำไส้ไม่ทำงานหรือลำไส้เคลื่อนตัวน้อย โรคต่อมลูกหมากโต
- ห้ามปรับขนาดรับประทานยานี้ด้วยตนเอง
- ห้ามใช้ยานี้ที่สภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้กับเด็ก สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไตรเฮกซีเฟนิดิลด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลร่วมกับยา Potassium citrate, Potassium chloride ชนิดรับประทานด้วยจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆเช่น ระคายเคืองในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารหรือมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลร่วมกับยา Topiramate ด้วยจะทำให้เกิดการหลั่งเหงื่อออกน้อยเป็นผลให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจนอาจเกิดอาการคล้ายเป็น ลมแดด (Heat stroke)
- การใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลร่วมกับยา Brompheniramine, Chlorpheniramine, Diphenylhy dramine จะทำให้เกิดอาการง่วงนอน ตาพร่า ปากแห้ง เหงื่อออกน้อย ปัสสาวะขัด เป็นตะคริวที่ท้อง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลร่วมกับยา Hydrocodone สามารถเพิ่มอาการข้างเคียงทางระบบประสาทเช่น วิงเวียน ง่วงนอน ขาดสติหรือขาดความสามารถในการตัดสินใจ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษาไตรเฮกซีเฟนิดิลอย่างไร?
ควรเก็บยาไตรเฮกซีเฟนิดิลในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20 - 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง แดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไตรเฮกซีเฟนิดิลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไตรเฮกซีเฟนิดิลที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Aca (เอกา) | Atlantic Lab |
Acamed (อะคาเมด) | Medifive |
Artane (อาร์เทน) | Wyeth |
Benzhexol GPO (เบนซ์เฮกซอล จีพีโอ) | GPO |
Pozhexol (พอซเฮกซอล) | Central Poly Trading |
Tridyl (ไตรดิล) | Condrugs |
บรรณานุกรม
- http://en.wikipedia.org/wiki/Muscarinic_antagonist [2015,Oct17]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Trihexyphenidyl#Synthesis [2015,Oct17]
- http://www.drugs.com/cdi/trihexyphenidyl.html [2015,Oct17]
- http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/trihexyphenidyl-oral-route/before-using/drg-20072660 [2015,Oct17]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Aca/?type=brief [2015,Oct17]
- http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/81#item-8562 [2015,Oct17]
- https://healthy.kaiserpermanente.org/health/care/consumer/health-wellness/drugs-and-natural-medicines/drug-encyclopedia/medicine-information/!ut/p/a1/fc5BT4MwFMDxz7IDR-ljZdB561jEgrAtI4q9GDa7QoKUdN3Ivr2AeDHqu_Xl138e4ihHvCmulSxMpZqiHt7ce8uAbVYrhwI4bAFsG5F0TcgcAoxeUIS4rNVhxK-lMe29BRa864sUzfF21yptamEsQHzYsTXKHR8wdgdOmwMmEnEtTkILbV90Xxka5zHSdZ0tlZK1sI_KNmUf-eVTqc4G5T9tfxn__3iYwEO0_wIbd0mAJcFjwNIYIPQnsKXASAILByj2gHkZjv0kdSB0JwCY7cZCuPWgt3EWPy9jDDD_Bn8MBdR-kBuur0-nPasYnc0-AX8hv2I!/dl5/d5/L2dBISEvZ0FBIS9nQSEh/ [2015,Oct17]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Acamed/?type=brief [2015,Oct17]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/trihexyphenidyl-index.html?filter=3&generic_only= [2015,Oct17]