ไข่ขาวผง เมนู เปรี้ยวหวานแห้ง ซูซ่าไข่ขาวผง (เมนูที่ 3)
- โดย กาญจนา ฉิมเรือง
- 21 กันยายน 2562
- Tweet
ส่วนผสม
ไส้หมูอ่อน | 0.1 | ขีด |
ไข่ขาวผง | 20 | กรัม |
น้ำ | 150 | ซีซี |
น้ำฟักข้าวข้นๆ | 20 | ซีซี |
สับปะรด | 10 | กรัม |
มะเขือเทศเนื้อ | 10 | กรัม |
แตงกวา | 10 | กรัม |
หอมใหญ่ | 10 | กรัม |
พริกหวานเขียว – แดง | 15 | กรัม |
น้ำมันพืช | 1 | ช้อนโต๊ะ |
กระเทียม | 5 | กรัม |
เครื่องปรุงรสซอสมะเขือเทศ เกลือ น้ำตาล น้ำปลา |
วิธีทำ
1. นำไส้หมูอ่อนล้างให้สะอาด
2. นำเมล็ดฟักข้าวมาคั้นน้ำประมาณ 20 ซีซี
3. หอมใหญ่ พริกหวานสีเขียว-แดง ล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
4. สับปะรด แตงกวา มะเขือเทศเนื้อ หั่นเป็นชิ้น พอคำ
5. ไข่ขาวผง ผสมน้ำฟักข้าว และน้ำ 150 ซีซี ใส่เครื่องปั่น
6. นำส่วนผสมข้อ 5 ใส่ในไส้หมู ใช้เชือกผูกด้านบนและด้านล่าง นำไปต้มในน้ำร้อนประมาณ 15 นาที ใช้ไฟอ่อนๆจนกระทั่งไส้หมูและไข่ขาวผงสุก ( ลูกรอก )
7. นำไส้หมู ข้อ 6 มาหั่นเป็นชิ้นๆ
8. นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน เจียวกระเทียมให้หอม ใส่ลูกรอก แตงกวา สับปะรด มะเขือเทศเนื้อ หอมใหญ่ พริกหวานสีเขียว-แดง ปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ เกลือ น้ำตาล น้ำปลา
โปรตีน | 18.38 | กรัม |
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) | 4.42 | กรัม |
ไขมัน (กรัม) | 16.51 | กรัม |
พลังงาน (กิโลแคลอรี่) | 240 | กรัม |
- หมายเหตุ สามารถใช้ไส้หมู ไส้ไก่ ไส้เทียมคอลลาเจน ในการทำลูกรอกได้
- การต้มลูกรอกใช้ไฟอ่อนๆ กรณีใช้ไฟแรงในการต้มลูกรอกจะแตก
ไข่ขาวเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดนักกีฬาเพาะกาย หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นปะจำ จะรับประทานไข่ขาวเป็นหลัก เพราะไข่ขาวมีส่วนประกอบหลักคือโปรตีนและไม่มีไขมัน ไม่มีคอเลสเตอรอลเหมือนกับไข่แดง เราจึงเห็นว่าคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ นักกีฬา ผู้ที่ขาดสารอาหารกลุ่มโปรตีน ผู้ป่วย มักกินไข่ขาวหลายๆ ฟองต่อวันโดยไม่ต้องกังวลกับโรคอ้วนหรือโรคหัวใจ โปรตีนในไข่ขาวจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ให้แข็งแรงมากขึ้น
เกร็ดความรู้
ผลของฟักข้าวรวมถึงเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดที่มีสีแดงสดมีคุณค่าทางโภชนาสูงผลฟักข้าวประกอบด้วย สารเบต้าแคโรทีนสูงมาก มากกว่าแครอทถึง 10 เท่า นอกจากนี้ผลของฟักข้าวยังอุดมไปด้วยสารไลโคปีน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงประโยชน์ด้านคุณค่าทางโภชนาการของผลฟักข้าวในหลายประเทศในเอเชีย ที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ในประเทศเวียดนาม ซึ่งคนเวียดนามได้ใช้ฟักข้าวเป็นองค์ประกอบในอาหารพื้นบ้านหลายชนิด เนื่องจากสีแดงที่สดใสของฟักข้าวและคุณค่าทางอาหาร นอกจากนี้นักวิจัยชาวเวียดนามได้ผสมเนื้อฟักข้าวลงในข้าวเพื่อให้เด็กนักเรียนชนบทที่ขาดวิตามินเอได้ทาน ผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้หายจากอาการขาดวิตามินเออย่างน่าพึงพอใจ
อ้างอิง (เกร็ดความรู้):
- วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ฟักข้าว. [อินเตอร์เน็ต]. ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/.../ฟักข้าว-Momorodica-cochinchinensis/