โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (ตอนที่ 3)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 24 กุมภาพันธ์ 2556
- Tweet
พยาธิสรีรวิทยา สามารถอธิบายตามหัวข้อต่างๆได้ดังนี้
- พยาธิสภาพประสาท - ลักษณะที่พบคือ มีการสูญเสียเซลล์ประสาทและช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทภายในส่วนเปลือกของสมอง (Cerebral cortex) และข้างใต้ส่วนเปลือกของสมอง ทำให้เกิดการฝ่อของสมอง ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ พบได้ทั้ง คราบ (Plague) อะมีลอยด์ และการพัวพันของใยสมอง (Neurofibrillary tangles) ในสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์
- ชีวเคมี - โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นโรคจากความผิดปกติของโปรตีนในสมอง อย่างแรกคือเกิดการสะสมของอะมีลอยด์ เบต้า ซึ่งจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนหนาแน่นอยู่นอกเซลล์ประสาท อย่างที่ 2 คือ การรวมกลุ่มของโปรตีนเทาที่ผิดปกติ ทำให้เกิด การพัวพันของใยสมอง รบกวนระบบการขนส่งสารสื่อประสาทในเซลล์ประสาท
- กลไกการเกิดโรค - ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการสะสม อะมีลอยด์ เบต้า ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร แต่สมมุติฐานอะมีลอยด์ เบต้าเน้นว่าการสะสม อะมีลอยด์ เบต้าจะกระตุ้นให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ตาย อีกทั้งยังยับยั้งการใช้ระดับน้ำตาล (Glucose) ของเซลล์ประสาทด้วย
- พันธุศาสตร์ - โรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่ไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การวินิจฉัย โรคอัลไซเมอร์
การวินิจฉัยโรคทางคลินิกมักอาศัยประวัติของผู้ป่วย ประวัติที่ได้จากญาติ และสังเกตลักษณะที่ปรากฏทางประสาทวิทยา (Neurological) และจิตประสาทวิทยา (Neuropsychological) การวินิจฉัยที่แน่นอนได้แก่การตรวจยืนยันทางจุลพยาธิวิทยาคือการตรวจเนื้อเยื่อสมองทางกล้องจุลทรรศน์
การถ่ายภาพทางการแพทย์ขั้นก้าวหน้าด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์/ซีที (CT = Computed tomography) หรือ เอมอาร์ไอ (MRI = Magnetic resonance imaging) และด้วยวิธีการสเป็กต์ (SPECT = Single photon emission computed tomography) หรือเพ็ต (PET = Positron emission tomography) จะช่วยคัดแยกพยาธิประสาท (Cerebral pathology) อื่นๆ หรือประเภทย่อยของความจำเสื่อม (Dementia) ออกไป แล้วพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงจากขั้นสมองเสื่อมอย่างอ่อน ไปยังโรคอันไซเมอร์
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักพบความบกพร่องในการเรียนรู้ 8 รูปแบบ ได้แก่ ความจำ ภาษา ทักษะความรู้สึก (Perception) ความใส่ใจ ทักษะการก่อสร้าง (Constructive) การรู้กาลเทศะและบุคคล (Orientation) การแก้ปัญหา และความสามารถเชิงหน้าที่ (Functional)
นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า “ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยจำ ช่วยคิดแทนการใช้สมอง เช่น บันทึกเบอร์โทรศัพท์ในมือถือ ร้องเพลงตามคาราโอเกะ ใช้เครื่องคิดเลขในโทรศัพท์หรือเครื่องคิดเลขคิดแทนการใช้สมองคำนวณ โดยเฉพาะใช้ตั้งแต่วัยเด็ก มีผลทำให้สมองขาดการใช้งาน เซลล์ประสาทขาดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาเสื่อมตามมา หรือที่เรียกว่า ‘สมองเป็นสนิม’ อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมได้เร็วขึ้น”
แหล่งข้อมูล
- คนไทยเสี่ยงสมองเสื่อมเร็วขึ้น แนะฝึกท่องจำ-คิดคำนวณบ่อบครั้ง - http://www.naewna.com/local/40659 [2013, February 23].
- Alzheimer's disease - http://www.naewna.com/local/40662 [2013, February 23].
- Alzheimer's disease-http://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer's_disease [2013, February 23].