โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 6 – การตายและการด้อยสมรรถนะ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 มีนาคม 2566
- Tweet
โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 6 – การตายและการด้อยสมรรถนะ (1)
มหาตมะ คานธี (Mahatama Gandhi) กล่าวว่า “สุขภาพคือความมั่งคั่งที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่แท่งทองและแท่งเงิน” (It is health that is real wealth, not pieces of gold and silver)
แม้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ (Medical advancement) จะไปไกลมาก แต่สาเหตุหลัก (Leading) ของการตาย (Death) ในสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นโรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, การบาดเจ็บสาหัสโดยมิได้ตั้งใจ (Unintentional injuries), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD), และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็น 61% ของการตายในปี ค.ศ. 2019
ในระดับโลก (World-wide) สาเหตุการตายก็คล้ายกัน (Similar) แม้จะไม่ลำดับเดียวกัน อันได้แก่ โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การติดเชื้อส่วนล่างของระบบหายใจ (Lower respiratory infection), และโรคมะเร็งปอด/ทางเดินหายใจ (Lung/airway cancer) สถิติที่เก็บได้แสดงว่า สหรัฐอเมริกาและโลก มีสาเหตุการตายร่วมกันถึง 3 ใน 4 ของอาการโรค
การพิจารณาอย่างละเอียด (Detailed look) จะเห็นว่าสาเหตุหลักของการตายเปลี่ยนไป บนพื้นฐานของรูปแบบ (Profile) ทางเศรษฐกิจของประเทศ ความแตกต่างอย่างเด่นชัดของสถานทางสังคม-เศรษฐกิจ (Socio-economic) ส่งผลให้มีความโดดเด่น (Unique) ของความเสี่ยง (Exposure), การกินโภชนาหาร (Nutritional intake), ระดับการออกกำลังกาย (Activity level), และโครงสร้างพื้นฐานของการดูสุขภาพ (Health-care infra-structure) แก่ประชากร
ตัวอย่างเช่น ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low-income) โรคติดต่อ (Contagious diseases) เป็นสิ่งที่พบเห็นกันทั่ว (Common) ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูง สาเหตุหลักของการตายเกือบเป็นกระจกสะท้อน (Mirror) สภาวะในสหรัฐอเมริกา
ไม่ว่าความมั่งคั่งของประเทศชาติและประชากรจะเป็นอย่างไร มนุษย์ก็เป็นปุถุชนที่อาการทางโรคจะก่อให้เกิดความทุกข์ยาก (Affliction) แก่ทุกกลุ่มชน ในจำนวนสาเหตุหลักในระดับโลก โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่กล่าวอย่างคลุมไปทั่ว (Generalizable) ได้ว่า เป็นสาเหตุการตาย (Killer) ในระดับชั้น (Strata) ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็ง จะเป็นตัวฉุดกระชากลากไป (Traction)
การรวบรวม (Compile) รายชื่อที่ถูกต้องและเป็นปึกแผ่น (Unified) ของสาเหตุหลักของการด้อยสมรรถนะ (Disability) นั้น ค่อนข้างซับซ้อน (Complicated) ส่วนหนึ่งเพราะวิธีการนิยาม (Define) และวัดผล (Measure) ในทางปฏิบัติ โดยการด้อยสมรรถนะคืออาการที่ลดทอน (Impair) ความสามารถของบุคคลในการทำงาน (Task) และทำกิจกรรม (Activities)
การด้อยสรรถนะ อาจเป็นทางกายภาพ (Physical) เช่น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายจากด้านหนึ่งของร่างกาย หรือทางการรับรู้ (Cognitive) เช่น ไม่สามารถแสดงออก (Express) ซึ่งคำพูด (Speech) หากใช้วิธีการ (Approach) ของทางสถิติทั่วไป (Wide-spread) สาเหตุหลักของการด้อยสมรรถนะในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2017 ได้แก่โรคหัวใจ, โรคมะเร็งปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคเบาหวาน (Diabetes), และปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain)
แหล่งข้อมูล
- Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
- สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.