โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 10 – รากเหง้าของสาเหตุ (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 เมษายน 2566
- Tweet
โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 10 – รากเหง้าของสาเหตุ (3)
ใน 5 ขั้นตอนแรก (อย่าสูบยา, ดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอควร, แสวงหาน้ำหนักที่เหมาะสม, เพิ่มการออกกำลังกาย, และเปลี่ยนนิสัยการกิน) เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องมีความช่วยเหลือจากภายนอก (External help) กล่าวคือ เพียงเป็นตัวเราและพฤติกรรมของเรา
ส่วนใน 3 ขั้นตอนหลัง (การตรวจความดันโลหิต, การตรวจคัดกรอง, และการฉีดวัคซีน) เราจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก กล่าวคือ แพทย์
ในปี ค.ศ. 2005 มีรายงานวิจัยว่า การสูบยาและความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยหลัก (Leaders) ของ 5 ใน 6 ของการตายในสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยภาวะอ้วนเกิน (Obesity) และการปราศจากการออกกำลังกาย (Physical inactivity) โดยที่แต่ละปัจจัยเป็นสาเหตุเกือบ 1 ใน 10 ของการตาย นอกจากนี้ นิสัยการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (Poor diet) ก็ได้เข้ามารวมอยู่ในรายการด้วย
หลังจากนั้น จนถึงปัจจุบัน ลำดับปัจจัยสาเหตุหลักของการตาย อาจเปลี่ยนแปลง[ขึ้น-ลง] ไปบ้าง แต่ปัจจัยดังกล่าว ก็ยังวนเวียนอยู่ในรายชื่อ (List) เดิม เพียงแต่มีสาเหตุอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มเติมเข้ามาเป็นหางว่าว จากปริมาณที่มากขึ้นของผลงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์โดยเทคโนโลยี
บล็อกนี้ จะตอกย้ำคำกล่าวที่ว่า “ความรู้คืออำนาจ” (Knowledge is power) โดยแสดงให้เห็นถึงความรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยในชีวิตประจำวัน ด้วยจุดมุ่งหมายในการจุดประกายให้เกิดความเข้าใจ, ปลูกฝัง (Instill) พลังการเปลี่ยนแปลง, และสร้างแรงจูงใจ (Inspire) ให้สัมฤทธิ์ผล
แล้วคุณผู้อ่านจะพบว่า ภาระ (Burden) ของเราในเรื่อง โรคภัย ไข้เจ็บ มีรากเหง้า (Root cause) มาจากปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นเสมือนกระดูกสันหลัง (Back-bone) ของบล็อกนี้ ซึ่งเราจะขยายรายละเอียดต่อไป แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การเข้าแทรกแซง (Intervention) เพื่อป้องกัน เพราะตามคำกล่าวที่ว่า “การป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษาโรค” (Prevention is better than treatment)
สรุปแล้ว เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหาดังกล่าว เราต้องพิจารณาถึงสาเหตุหลัก (Principal) ของการตาย และการด้อยสมรรถนะ (Disability) ในขณะที่มุ่งเน้น (Focus) ไปที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ (Major) อันนำไปสู่ [ทุกข] สภาวะ (Condition) เหล่านั้น ซึ่งดำเนินอยู่ในปัจจุบันไม่เฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ได้วิวัฒนาไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
รากฐาน (Foundation) อันนี้จะนำไปสู่รายการของสิ่งที่เราต้องทำเพื่อปรับปรุงสุขภาพของเราเอง ตามคำแนะนำ ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด (Impactful) ซึ่งจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายของคุณภาพชีวิต (Life quality) ที่ดีขึ้นและอายุที่ยืนยาวนานขึ้น (Longevity) โดยรองรับสนับสนุนด้วยประจักษ์หลักฐานของงานวิจัยทางการแพทย์
วิลเลียม เช็คสเปียร์กล่าวว่า “ร่างกายของเราเป็นสวน (Gardens) โดยที่ความมุ่งมั่น (Wills) ของเราจะเป็นชาวสวน (Gardeners)”
แหล่งข้อมูล
- Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify ,Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
- สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.