โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 82 – มะเร็งลำไส้-มะเร็งต่อมลูกหมาก

โดยรวม (Overall) หากพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง อัตราการรอดชีวิต (Survival) ใน 5 ปีอยู่ที่ 64%  แต่ถ้าพบในระยะแรก (Early stage) อัตราการรอดชีวิตจะอยู่ที่ 90% แต่ถ้าพบในระยะลุกลาม (Advanced) อัตราการรอดชีวิตจะลดลงอย่างน่าเศร้าใจเหลือเพียง 14%

โชคดีที่เราเห็นอัตราการเสียชีวิตลดลงเป็นเวลาหลายสิบปี เนื่องจากการตรวจคัดกรองและการรักษาที่ดีขึ้น (Improved treatment) อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่ให้ปรับปรุงอีกมาก เนื่องจากหลายคนไม่ปฏิบัติตาม (Adhere) หรือไม่ทราบ (Unaware) ถึงแนวทาง (Guideline) เหล่านี้

คาดการณ์ (Estimate) ว่า มีชาวอเมริกันอายุ 50 ถึง 75 ปี จำนวน 22 ล้านคนที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธีใดๆ เลย ซึ่งแปล (Translate) ว่ามีประมาณ 23,000 ชีวิต ที่อาจจะได้รับการช่วยเหลือด้วยการตรวจพบ (Detection) หรือการป้องกัน (Prevention) ตั้งแต่เนิ่นๆ (Early stage)

การให้ความรู้เพิ่มเติมและการขจัด (Eliminate) รอยโรค (Stigma) ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) สามารถเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรอง (Screening) ได้

ในปี ค.ศ. 2000  “การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ที่ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ (Televised) ของสตรีนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั่วอเมริกาถึง 20%” ด้วยการเข้าถึงสาธารณะ (Public outreach) อย่างต่อเนื่องและการรักษาที่ดีขึ้น หวังว่าเราจะเห็นอัตราการเสียชีวิต (Mortality rate) ลดลงอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด (Most common) ในผู้ชาย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับ 2 ในผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด มันทำให้ผู้ชายเสียชีวิต 31,485 คน ในปี ค.ศ. 2018 ในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and Prevention: CDC) ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society: ACS) แนะนำให้พูดคุยในข้อดี (Pro) และข้อเสีย (Con) ของการทดสอบคัดกรองกับแพทย์ เริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี คณะทำงานป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Preventive Services Task Force: USPSTF)  แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองเป็นระยะๆ (Periodic) ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 55 ปี หลังจากได้พูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์ (Benefit) และอันตราย (Harm) แล้ว

ทำไมจึงไม่มีคำแนะนำแบบเป็นเอกฉันท์ (Uniform) สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้ชาย การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากทำโดยการตรวจระดับแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (Prostate specific antigen: PSA) ในเลือด

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.