โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 80 – ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี และเมื่ออายุ 30 ปี แนะนำให้ทดสอบ HPV (Human papillomavirus) พร้อมกับการตรวจ Pap smear เวลาที่แน่นอน (Exact time) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลตามประวัติและผลการตรวจ (Finding)

ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสถานการณ์ (Situation) เฉพาะ การคัดกรองสามารถป้องกันมะเร็ง ได้โดยการตรวจหาการการเปลี่ยนแปลงของแผลของเซลล์ (Precancerous lesion) ที่อาจกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก (Cervical) ในที่สุด (Ultimately)

นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญในการตรวจหามะเร็งในระยะแรก (Early stage) เพื่อลดความเสี่ยง (Exposure) ของมะเร็งในระยะต่อมา (Subsequent stages)

ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อัตราการรอดชีวิต (Survival) ใน 5 ปีของมะเร็งปากมดลูกโดยรวม (Overall) อยู่ที่ 66% แต่ถ้าเป็นการพบในระยะแรก อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ขึ้นไปสูงถึง 92% ส่วนการพบในระยะที่ลุกลามแล้ว (Advanced) อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีจะตกลง (Plummet)) มาที่ 17%

เมื่อไม่นานมานี้ (Recently) เราก้าวไปข้างหน้า (Forward) อีกขั้น ในการป้องกัน (Prevention) การติดเชื้อ HPV อย่างต่อเนื่อง (Persistent) เป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ HPV ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งปากทวาร (Anal) 90% มะเร็งอวัยวะเพศหญิง (Vaginal) และมะเร็งอวัยวะชาย (Penal) 71% และมะเร็งช่องปาก (Oropharyngeal) 72%

วัคซีน HPV เปิดตัวครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษ 2000 และป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์  (Strain) ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 90% นับตั้งแต่วัคซีนนี้ได้รับการเผยแพร่ (Published) สัดส่วนของหญิงสาวชาวอเมริกันอายุ 14 ถึง 24 ปีที่ติดเชื้อ HPV ลดลง (Decline) 80 ถึง 90% เมื่อเทียบกับยุคก่อนวัคซีน (Pre-vaccine era) ระหว่างปี ค.ศ. 2003 ถึง ค.ศ. 2006

อย่างไรก็ตาม อัตราการฉีดวัคซีน (Vaccination) ยังคงอยู่ในระดับต่ำในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ อยู่ที่ประมาณ 50% สำหรับเด็กชายและเด็กหญิงในวัยที่แนะนำ (Recommend)

แต่ด้วยประโยชน์ (Benefit) ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นๆ พร้อมกับกรอบความปลอดภัย (Safety profile) ที่สูง วัคซีนนี้จึงได้รับการแนะนำให้ฉีดเป็นประจำ (Routine) เมื่ออายุ 11 หรือ 12 ปีสำหรับทั้งเพศหญิง (Female) และเพศชาย (Male)

ด้วยกลยุทธ์ (Strategy) การป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่น่าติเตียน (Culpable) และการตรวจค้นหา (Detect) การเปลี่ยนแปลงของแผล (Lesion) เซลล์ก่อนเป็นมะเร็ง ที่อาจกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด รวมถึงการตรวจหาตำแหน่ง (Localized) มะเร็งในระยะแรก เราหวังว่าจะเห็นการลดลง (Decrease) ของการวินิจฉัยพบมะเร็ง (Diagnosed cancer) และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.