โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 77 – แนะนำให้ตรวจคัดกรอง (2)

เซลล์ที่กลายพันธุ์ (Mutated) เหล่านี้ยังคงถูกจำกัด (Confined) ให้อยู่ในขอบเขต (Boundary) ปรกติของเนื้อเยื่อ (Tissue) ชนิดของมัน แม้ว่ามันอาจเจาะผ่าน (Break through) ขอบเขตและบุกรุก (Invade) เนื้อเยื่อที่อยู่ติดกัน (Adjoining) ได้ ในรูปแบบที่รุนแรง (Aggressive) ที่สุด เซลล์ที่กลายพันธุ์เหล่านี้อาจเข้าสู่กระแสเลือด (Blood stream) และลอย (Float) ไปยังตำแหน่ง (Location) อื่นของร่างกาย

พวกมันยังคงกระบวนการแบ่งตัว (Dividing) เพื่อบุกรุกเนื้อเยื่อใหม่ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การแพร่กระจาย” (Metastasis) เซลล์มะเร็งที่กลายพันธุ์เหล่านี้จะเข้ามาแทนที่เซลล์ปรกติ โดยใช้ทรัพยากร (Resources) และสารอาหาร (Nutrient) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (Complication) อันเกิดจากการที่อวัยวะ (Organ) ที่เกี่ยวข้องทำงานผิดปรกติ (Dysfunction)

ภาวะขาดออกซิเจนหรือมีออกซิเจนในระดับต่ำ (Hypoxia) เป็นการเพิ่มขึ้นของสารพิษในเลือด (Blood toxicity) ที่เกี่ยวข้อง (Involvement) กับไต (Kidney),  ปอด (Lung), และตับ (Liver) การขาดสารอาหาร (Malnourishment) ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร (Digestive system) และอื่นๆ

ในที่สุด (Eventually) เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะนำไปสู่การเสียชีวิต หากความผิดปรกติรุนแรงพอ คำอธิบายนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ (Simplified) ของระยะการวิวัฒนา (Progressing) ของมะเร็ง เมื่อเกิดการแพร่กระจาย เราจะจัดมะเร็งนั้นให้อยู่ในระยะที่สูงขึ้น ยิ่งระยะสูงขึ้น การพยากรณ์โรค (Prognosis) ก็ยิ่งแย่ลง

ตัวอย่างเช่น มะเร็งเต้านมที่อยู่ในพื้นที่จำกัดมีอัตราการรอดชีวิต (Survival) 5 ปี ถึง 99% แต่เมื่อเกิดการแพร่กระจาย อัตราการรอดชีวิต 5 ปีลดลงอย่างฮวบฮาบเหลือ 27% ตามที่เราทราบกันดี มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 600,000 รายต่อปี

มะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ในระยะแรก ก่อนที่จะโตมากเกินไปและแพร่กระจาย มีแนวโน้ม (Likely) ที่จะได้รับการรักษาอย่างสำเร็จ ดังนั้น การตรวจพบ (Detect) มะเร็งทั่วไปที่อาจรักษาได้ (Treatable) ในระยะแรก ด้วยเครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำจึงมีความสำคัญ (Vital) อย่างยิ่งต่อการลด (Mitigate) การเสียชีวิตจากมะเร็ง ซึ่งเป็นพื้นฐาน (Foundation) ของแนวทาง

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and Prevention: CDC) ซึ่งเป็นคณะทำงานป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Preventive Services Task Force: USPSTF) และสมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society: ACS) ได้ตีพิมพ์ (Publish) เผยแพร่แนวทางการตรวจคัดกรอง (Screening) มะเร็ง

มีเพียงไม่กี่ชนิดของมะเร็งที่ได้รับการตรวจคัดกรอง อันรวมถึงมะเร็งเต้านม (Breast), มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal), มะเร็งปากมดลูก (Cervical), มะเร็งปอด, และอาจจะมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate) ซึ่ง 4 ใน 5 ในรายการนี้ ติดอันดับต้นๆ ของสาเหตุการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งในสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.