โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 75 – การปฏิบัติตามข้อกำหนด (2)

หากผลการตรวจด้วยตนเอง (Self-monitor) อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีมาก ควรตรวจอีกทุกๆ 3 เดือน หากค่าความดันโลหิตสูง ตรวจอีกครั้งบ่อยขึ้น (Frequent) และหากมีลักษณะการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต ควรติดต่อแพทย์

หากแพทย์ของคุณตรวจวินิจฉัย (Diagnose) ว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) อย่ากลัวยาที่ใช้รักษา ความกังวลเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบบ่อยมาก หากความดันโลหิตเพิ่งสูงขึ้นแบบก้ำกึ่ง (Borderline) หรือหากนี่เป็นครั้งแรกที่เพิ่งสังเกตเห็นประเด็น (Issue) นี้ และต้องการลองเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต (Life style) นั่นเป็นเรื่องที่เหมาะสม (Reasonable)

ในกรณีนั้น ขอแนะนำให้ตรวจสอบติดตาม (Monitor) ความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และหากไม่เห็นการปรับปรุง (Improvement) ในระยะเริ่มต้น ก็ควรปรึกษากับแพทย์และเริ่มกินยาตามใบสั่งแพทย์ (Prescription) อย่าล่าช้า (Delay) ในการดำเนินการ

อย่ากลัวยา หากมันจำเป็นและถูกสั่งให้ใช้โดยแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยาลดความดันโลหิต เนื่องจากมีประโยชน์ (Benefit) มากกว่าความเสี่ยง (Risk) หากคุณรู้สึกลังเล (Hesitant)  ลองใช้ยาขนาด (Dose) เบาๆ พร้อมทั้งดำเนินการเปลี่ยนแปลง

การศึกษาหนึ่ง ได้แสดงให้เห็นว่า หลังจากโปรแกรม 16 สัปดาห์ที่รวม (Combine) อาหาร DASH (= Dietary approach to stop hypertension หรือเน้นการจำกัดแคลอรีและโซเดียม), การจัดการน้ำหนัก (Weigh management), และการออกกำลังกาย (Exercise) มีเพียง 15% ของผู้ป่วย ที่ยังต้องใช้ยาลดความดันโลหิต (Anti-hypertensive)

ดังนั้น แทนที่จะมีโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี ทำให้เกิดความเสียหายในหลอดเลือดเป็นเดือนๆ ในขณะที่พยายามควบคุมความดันโลหิตโดยวิธีธรรมชาติ (Natural means) ควรควบคุมความดันโลหิตไว้ก่อน (Upfront) ด้วยยา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะให้ความดันโลหิตลดลง ในระดับที่จะทำให้สามารถหยุดกินยาในอนาคตได้

กุญแจสำคัญ คือ การตรวจวัดความดันโลหิตและการกินยาตามที่แพทย์สั่ง (Prescribe) เป็นมาตรการ (Measure) ที่ง่าย (Simple) และง่าย (Easy) ต่อการนำมาใช้ (Implement) ซึ่งสามารถทำให้เกิดความแตกต่าง (Difference) ในการลดความเสี่ยง (Risk) ต่อการเกิดหัวใจล้ม (Heart attack), อัมพฤกษ์-อัมพาต (Stroke), และอื่นๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ

บทสรุปก็คือ

  • หมั่นตรวจสอบความดันโลหิต และกินยาตามที่แพทย์สั่ง หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • หากกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ลดน้ำหนัก, และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จะมีโอกาสหยุด (Off) การกินยาได้ ภายใต้การกำกับดูแล (Supervision) ของแพทย์
  • อย่ากลัว (Fear) ยา ที่ปรับความดันโลหิต หากแพทย์สั่งให้ใช้

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.