โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 32 – มีปริมาณดื่มที่ปลอดภัยไหม (3)

นอกจากนี้ การบริโภคในปริมาณต่ำของแอลกอฮอล์ อาจลดความเสี่ยงของวิวัฒนาการโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) และมีความสัมพันธ์ (Associate) กับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคเบาหวาน (Diabetes) แล้วทำไมเราจึงเห็นคุณประโยชน์ของอาการเหล่านี้?

คำตอบก็คือ ข้อสมมุติฐาน (Hypothesis) ว่า ถ้าเราบริโภคแอลกอฮอล์ ณ ระดับต่ำ มันจะ . . .

  • เพิ่มคอเลสเตอรอลดี (Good cholesterol)
  • ลดการจับตัวเป็นก้อน (Clotting) ผ่านกลไก (Mechanism) หลากหลาย
  • มีผลกระทบเป็นคุณประโยชน์ในซับใน (Inner lining) ของหลอดเลือด (Vessel)
  • ลดการอักเสบ (Inflammation) และ
  • มีผลกระทบในเชิงบวก (Positive) ต่อการเผาผลาญ (Metabolism) น้ำตาล

คุณประโยชน์ (Benefit) โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคหัวใจ (Heart disease) จะพบเห็นในผู้ดื่มไวน์ มากกว่าผู้ไม่ดื่ม ซึ่งแสดงว่า สาร (Substance) ที่อยู่ในไวน์อาจก่อให้เกิด (Responsible) ผลกระทบในเชิงบวก ข้อมูลอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ (Substantial portion) ของคุณประโยชน์ได้มา (Derived) จากแอลกอฮอล์มากกว่าส่วนประกอบ (Component) อื่นๆ ของเครื่องดื่ม (Beverage)

รายการคุณประโยชน์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ (Preceding) ไม่ได้หมายความว่า แพทย์ให้การรองรับสนับสนุน (Endorsement) การดื่มแอลกอฮอล์เป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์มาก่อน ก็ไม่ควรริเริ่มเลย แต่ถ้าดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว ก็ขอให้ดื่มขนาดเบา (Lightly) ไม่ควรเกินวันละ 1 ครั้ง (Drink)

บางคนไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ด้วยซ้ำ เช่น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (Pregnant), เด็กวัยรุ่น (Youth), ผู้ใหญ่ที่กินยา (Medication) ซึ่งมีปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interaction), และผู้ที่กำลังฟื้นฟูจากการเสพแอลกอฮอล์ (Recovering alcoholics) เงื่อนไขสุขภาพ (Health condition) ดังกล่าว ทำให้การดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง (Avoid) ทั้งปวง (Altogether)

ขอกล่าวตอกย้ำ (Emphasize) ว่า แม้การดื่มแอลกอฮอล์หลายวันต่อสัปดาห์ อาจให้คุณประโยชน์ต่อสุขาพ แต่การหยุด (Cessation) การดื่มเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง (Moderate) ก็คงไม่สามารถสร้างผลกระทบของการถอนตัว (Withdrawal effect) และคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavioral) ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่เป็นอันตราย

ถ้าจำเป็นต้องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เลือกไวน์ ดีกว่าเบียร์ หรือเหล้า และจงปรึกษาแพทย์ประจำครอบครัว ถ้ามีความเสี่ยง (Risk) สูง จากการกินยา (Medication) บางชนิด หรือมีปัญหาสุขภาพ

แหล่งข้อมูล -

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.