โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 31 – มีปริมาณดื่มที่ปลอดภัยไหม (2)

อันที่จริงในบรรดาการตายปีละ 93,000 รายที่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ในสหรัฐอเมริกา มากกว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากการดื่มหนักอย่างรวดเดียว และผลกระต่อพฤติกรรมที่ตามมาในเวลาต่อมา (Subsequent) เช่น รถชนกัน (Car crash), พิษจากแอลกอฮอล์, ฆ่าตัวตาย (Suicide), และความรุนแรง (Violence)

แม้ว่าจะมีผลกระทบในทางลบ (Negative) มากมายที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ แต่คงไม่ถูกต้องแม่นยำ (Inaccurate) นัก ถ้าจะพูดว่า แอลกอฮอล์เลวร้ายไปหมดทุกอย่าง ก่อนการตั้งข้อสังเกต (Observation) ว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ปริมาณต่ำถึงปานกลาง (Moderate) เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (Risk) ที่ลดลงของเป็นโรคหัวใจ (Heart disease)

แม้ว่าเป็นรับรู้กันอย่างชัดแจ้งว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ยิ่งมาก ยิงเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด (Certain), โรคตับแข็ง (Cirrhosis), และผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ แต่การวิเคราะห์ขนาดใหญ่ ซึ่งได้รวมข้อมูลจากงานวิจัย 34 ชิ้น โดยมีหัวข้อ (Subject) มากกว่า 1 ล้านเรื่อง แสดงผล (Demonstrate) ที่น่าสนใจ

กล่าวคือ ความสัมพันธ์รูปตัว J (J-shaped relationship) ระหว่างแอลกอฮอล์กับการตายทั้งหมด (Total mortality) โดยที่ระดับต่ำของการบริโภคแอลกอฮอล์ ดูเหมือน (Appear) จะสัมพันธ์กับการตายโดยรวมที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่เสพแอลกอฮอล์เลย ในขณะที่ระดับสูงสัมพันธ์กับการตายที่เพิ่มขึ้น การศึกษาหลายครั้งได้ พิจารณาระดับของแอลกอฮอล์ และความสัมพันธ์ระหวางโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ (Various)                        

สำหรับอาการ (Condition) ส่วนมาก ไม่มีปริมาณดื่มแอลกอฮอล์ใด ที่เป็นประโยชน์ (Beneficial) ยกตัวอย่าง สำหรับมะเร็งจำนวนมาก [เช่น ที่ปาก, หลอดอาหาร (Esophagus), กล่องเสียง (Larynx), ลำไส้ใหญ่ (Colon), ลำไส้ส่วนปลาย (Rectum), ตับ (Liver), และทรวงอก (Breast)], ความดันโลหิตสูง (High-blood pressure), ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis), และโรคตับ

นอกจากไม่มีประโยชน์ ณ ระดับใดๆ ของการเสพ (Use) แอลกอฮอล์แล้ว อันที่จริง การศึกษาค้นพบสิ่งตรงข้าม กล่าวคือ การบริโภคแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น มาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยง (Risk) อย่างมีนัยสำคัญ (Significant) แต่ก็มีบางโรคที่ดูเหมือน (Appear) ที่ได้ประโยชน์จากการเสพแอลกอฮอล์ในปริมาณต่ำ

ตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ จากการสะสม (Build-up) ของคราบจุลินทรีย์ (Plaque) ในหลอดเลือดแดง (Artery) ดูเหมือนะมีความสัมพันธ์รูป J (J-shaped relation) เช่นเดียวกับการบริโภคแอลกอฮอล์ ณ ระดับแอลกอฮอล์ที่ต่ำเพียง 20 กรัม ต่อวัน (หรือ 1.5 ครั้ง) ดูเหมือนจะมีการลดลงในความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ

ในทำนองเดียวกัน การบริโภคแอลกอฮอล์อย่างอ่อน (Light) เพียง 12 ถึง 24 กรัม ต่อวัน (ประมาณ 1 ถึง 2 ครั้ง) อาจป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในขณะที่การดื่มในปริมาณสูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และเลือดไหลในสมอง (Brain bleeding)

แหล่งข้อมูล -

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  3. Journal of the American College of Cardiology - https://www.jacc.org/doi/1016/j.jacc.2017.07.710 [2023, August 29].