โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 25 – กัญชาในวัฒนธรรมทันสมัย (4)

งานวิจัยพบว่า การเสพกัญชา (Cannabis) อย่างสม่ำเสมอ สัมพันธ์ (Associated) กับการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เรื้อรังและกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจ (Respiratory symptoms) แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีโอกาสสูงที่จะสัมพันธ์กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD), โรคหืดหอบ (Asthma), หรือโรคมะเร็งปอด บนพื้นฐานของกลไก (Mechanism) ของการเผาไหม้ (Combustion) และสารเคมีที่ก่อมะเร็งที่มันผลิต

มีแนวโน้มว่าผลกระทบที่ลึกซึ้ง (Profound) มากที่สุด สัมพันธ์กับผลกระทบทางจิตใจ (Mental) และสังคม การเสพกัญชา (Cannabis) เพิ่มความเสี่ยงสูง (Substantially) ของการวิวัฒนาจิตเภท (Schizophrenia) และความผิดปรกติทางจิต (Psychotic disorders) อื่นๆ

ข้อมูลจำนวนมาก แสดงความสัมพันธ์ชั่วขณะ (Temporal association) ของการเสพกัญชากับโรคจิตในอนาคต แม้จะมีการแก้ไขปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคจิต โดยทั่วไปแล้ว การเสพกัญชา จะนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงมากกว่า 2 เท่าของจิตเภทหรือความผิดปรกติเดียวกันในอนาคต

ความเสี่ยงดังกล่าว จะยิ่งเลวร้ายลงในวัยเยาว์ และในการเสพกัญชาที่บ่อยขึ้น (Frequent) การเสพกัญชาเป็นกิจวัตรประจำวัน จะเพิ่มโอกาส (Odd) ของความเสี่ยงมากกว่า 3 เท่าของความผิดปรกติทางจิต การเสพกัญชาประเภท THC (= Tetra-hydro-cannabinol)  ที่มีความแรง (Potency) ที่สูงกว่า จะเพิ่มโอกาสเกือบ 5 เท่า

นอกจากนี้ ยังมีผลที่ตามมาทางอารมณ์ (Mood consequences) เช่น การเพิ่มขึ้นของความกังวลทางสังคม (Social anxiety) และโรคซึมเศร้า (Depression) ผู้เสพกัญชาที่บ่อยขึ้น มีแนวโน้มที่จะคิดถึงการฆ่าตัวตาย (Suicide thoughts) และอารมณ์แปรปรวน 2 ขั้ว (Bipolar) ที่ควบคุมไม่ค่อยได้ (Poorly-controlled)

สำหรับวัยรุ่น (Adolescents) ผู้มีพื้นฐาน (Underlying) ของอารมณ์แปรปรวนอยู่แล้ว จะมีความเสี่ยงสูงมากของพฤติกรรมที่เป็นลบในบรรดาผู้เสพกัญชา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มิได้เสพ อันที่จริง ความเสี่ยงของการตายไม่ว่าสาเหตุใด พบว่าสูงกว่า 59% และมากกว่า 2 เท่า ของการตายจากการเสพเกินปริมาณ (Overdose) ของสารเสพติดใดๆ

ความเสี่ยงของการทำอันตรายตนเอง (Self-harm) กับการฆ่าผู้อื่น (Homicide) สูงมากกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มิได้เสพ แม้ปราศจากผิดปรกติทางจิต การเสพกัญชาเมื่อเยาว์วัย สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าและพฤติกรรมฆ่าตัวตายในเวลาต่อมาของชีวิต โอกาสที่ผู้เสพกัญชาจะวิวัฒนาโรคซึมเศร้าในขณะที่เป็นผู้ใหญ่วัยต้น (Young adults) สูงกว่า 37% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มิได้เสพ

ที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ โอกาสที่คิดฆ่าตัวใจสูงกว่า 50% และความพยายามจริง (Actual attempt) สูงกว่า 3 เท่า ผลลัพธ์ที่เลวร้าย อาจเป็นเพราะความคิดที่ขุ่นมัว (Clouded), การตัดสินใจไม่ดี (Poor judgment), และความหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ที่เกิดจากการเสพกัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแรงสูงของส่วนประกอบ THC

 แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.