โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 23 – กัญชาในวัฒนธรรมทันสมัย (2)

การศึกษาเรื่องกัญชาและส่วนประกอบ (Components) ได้เผชิญ (Encounter) อุปสรรค (Barrier) ที่ขัดขวาง (Impede) ความก้าวหน้าของงานวิจัย สำนักงานบังคับใช้ยาแห่งอเมริกา (US Drug Enforcement Agency: DEA) ได้จัดกัญชาอยู่ในตาราง 1 ซึ่งหมายถึงสารที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เพื่อใช้ในทางการแพทย์ และมีโอกาสสูงที่จะเสพ [แล้ว] ติด

สถานการณ์เช่นนี้ นำไปสู่ช่องว่าง (Gap) ต่อการวิจัยที่จำเป็นต้องตอบโจทย์ (Address) ประเด็นทางสาธารณสุข (Public health) โดยที่ชุมชน (Community) การแพทย์และวิทยาศาสตร์สนับสนุนความพยายามให้การวิจัยประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผล ของกัญชาและส่วนผสมของมัน (Derived compound) เพื่อตอบคำถามที่สัมพันธ์กับคุณสมบัติ (Properties) ทางการแพทย์

อันที่จริง กัญาชา (Marijuana) เป็นสกุลพืช (Plant species) ภายในวงศ์ (Genus) ที่ชื่อ Cannabis ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ (Interactions) ทางชีวะ-เคมี (Bio-chemical) ที่ซับซ้อนในร่างกายมนุษย์ Cannabis มีสารเคมีมากกว่า 400 ตัว โดยที่ 60 ตัวอยู่ในตระกูล (Family) ของ Cannabinoids อันมีส่วนผสมสำคัญ 2 ตัว กล่าวคือ THC (=Tetra-hydro-cannabinol) กับ CBD (=Cannabidiol) โดยมีตำแหน่งเฉพาะที่ผูกติดกันอยู่ (Binding sites) ในสมอง เรียกว่า ระบบตัวรับ (Receptor)

ตัวรับ Cannabinoids มี 2 ตัว ตัวรับหนึ่งอยู่ในสมองเป็นส่วนมาก แต่ก็พบในประสาท (Nerve), ตับ, ต่อมไทรอยด์ (Thyroid), กระดูก, และเนื้อเยื่อลูกอัณฑะ (Testicular tissue) ส่วนอีกตัวรับหนึ่งพบในเซลล์ภูมิคุ้มกัน (Immune cells), ม้าม (Spleen), และระบบทางเดินอาหาร (Gastro-intestinal system), และพบน้อยในสมองและประสาท แต่พบทั้ง 2 ตัวในรกในครรภ์ (Placenta)

ในสมอง ตัวรับ Cannabinoid ตัวแรกจะควบคุมปฏิกิริยายับยั้ง (Inhibitory action) ของสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ทางเคมี ซึ่งจะกระทบการทำงาน (Functions) ที่หลากหลาย (Multiple) เช่น การรับรู้ (Cognition), ความทรงจำ, การเคลื่อนย้าย (Motor), และการหยั่งสัมผัสความเจ็บปวด (Pain perception)

ร่างกายของคนเรา ก็มีการผลิตตามธรรมชาติ ซึ่งสารเคมีที่คล้าย Cannabinoid เรียกว่า ระบบ Endo-cannabinoid ซึ่งดูเหมือนจะดำรงความสมดุล (Balance) และป้องกันกิจกรรมที่เกินกำลัง (Excessive) ของเซลล์ประสาท

THC ผูกติดบางส่วนกับ (และส่งเสริม) กิจกรรม (Activation) ตัวรับตัวแรก โดยส่งผลกระทบในเวลาต่อมา (Sub-sequent) ที่อาจไม่ตรงไปตรงมา (Straight-forward) เสมอไป เนื่องจากความซับซ้อน (Complexity) ของปฏิกิริยาของระบบสารสื่อประสาทที่หลากหลาย

ส่วน CBD อาจผูกติดอย่างอ่อนแรง (Weakly bind) กับตัวรับทั้ง 2 ตัว แม้ว่ากลไก (Mechanism) ของปฏิกิริยายังไม่เห็นชัดเจน นอกจากนี้ ตัวรับอื่นๆ ที่มิใช่ Cannabinoid ก็ยังไม่ถูกค้นพบ และความรู้ทางชีววิทยาก็ยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) เกี่ยวกับสัตว์ทดลองและมนุษย์ ก็ชี้ไปยังโอกาส (Potential) ผลกระทบทางการแพทย์ (Clinical) ของทั้ง THC และ CBD ในเชิงบวกและเชิงลบ

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  3. DEA Drug Scheduling - https://www.dea.gov/drug-information/drug-scheduling#:~:text=Schedule%20I%20drugs%2C%20substances%2C%20or,)%2C%20methaqualone%2C%20and%20peyote [2023, July 4].