โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 100 – อวสาน (3)

ตั้งเวลาสำหรับการออกกำลังกายอย่างจงใจ (Deliberate) แนะนำให้ออกกำลังกายแบบให้หัวใจเต้นแรง (Cardiovascular) 20-30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ค้นหากิจกรรมที่ชอบ และค่อยๆ (Gradually) เพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกาย เอาชนะ (Surpass) เป้าหมายที่วางไว้ เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ (Benefit) หากมีเวลาจำกัด การออกกำลังกายอย่างเข้มข้น (Intense) เป็นเวลาสั้นๆ ก็ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกัน

5. มุ่งมั่นที่จะมีน้ำหนักที่เหมาะสม

ภาวะอ้วนเกิน (Obesity) มีความเสี่ยง (Risk) ต่อสุขภาพที่แท้จริงและรุนแรง (Severe) ตลอดชีวิต (Life-long) ขอชี้ชวน (Urge) ให้ทุกคนที่มีน้ำหนักเกินดำเนินการในเชิงรุก (Proactive) เพื่อลดน้ำหนักให้เป็นปรกติ มิใช่เพื่อสอดคล้อง (Align) กับการหยั่งเห็น (Perception) ความสวยงาม แต่เพื่อปรับปรุง (Improve) สุขภาพในระยะยาว หากน้ำหนักอยู่ในประเภท (Category) “อ้วน” จงพยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ โดยอุดมคติ (Ideally) แล้ว เป้าหมายคือการมีน้ำหนักที่เหมาะสม สำหรับบางคน สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยาก มิหาจแก้ปัญหาแบบฉับพลัน (Quick fix) แต่ต้องอาศัยความพยายามเล็กๆ อย่างสม่ำเสมอ (Consistent) และการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle) โดยรวม อย่างไรก็ตาม สามารถทำให้สำเร็จ (Accomplish) ได้โดยการลดพลังงาน (Energy) ที่บริโภค (Consume) และเพิ่มการใช้พลังงานที่เผาผลาญ (Burn)

6. ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากส่งเลวร้าย (Terrible) ต่อร่างกายอย่างมาก แต่การดื่มในปริมาณ (Amount) น้อยอาจมีประโยชน์บางอย่างได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การสนับสนุน (Endorsement) ให้ดื่มทุกวัน แต่ถ้าหากมีใครชอบดื่ม (Intake) เบียร์หรือไวน์เป็นครั้งคราว (Now and then) และการดื่มนั้นไม่รบกวน (Interfere) ชีวิตประจำวัน ก็ไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ (สำหรับคนส่วนมาก) สิ่งสำคัญคือต้องรู้ (Cognizant) ว่าแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะคือเท่าใด (ขึ้นอยู่กับเครื่องดื่มที่เลือก) และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเกินหนึ่งหน่วยบริโภค (Serving) ต่อวัน

7.  รับการตรวจสุขภาพตามที่แนะนำ

โรคมะเร็ง (Cancer) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโรคที่มีอยู่ (Exist) มานานตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ (Human history) มะเร็งระยะลุกลาม (Late stage) มีอันตราย (Dangerous) มากกว่ามะเร็งระยะแรก หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ (Early detection) การรักษาสามารถยืด (Prolong) อายุและอาจ (Potentially) รักษาให้หายได้ (Curative) ดังนั้น การตรวจคัดกรอง (Screening) มะเร็งจะช่วยให้ตรวจพบมะเร็งชนิดที่มีผลกระทบ (Impactful) สำคัญๆ ได้ตั้งแต่ระยะแรก นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองยังช่วยตรวจพบความผิดปกติ (Abnormality) อื่นๆ ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งร้าย (Cancerous) อีกด้วย จงปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับตัวเราเอง

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.