โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตอน 1 ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ
- โดย กาญจนา ฉิมเรือง
- 11 พฤษภาคม 2562
- Tweet
คนเราเมื่อเกิดมาทุกคนก็ต้องผ่านวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และในที่สุดก็เข้าถึงวัยผู้สูงอายุ เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย เป็นการยากที่จะบอกว่าอายุเท่าไหร่จึงจะเป็นวัยผู้สูงอายุ ประเทศไทยมีการเกษียณอายุเมื่ออายุได้ 60 ปี ส่วนประเทศทางตะวันตก ใช้อายุ 65 ปี ในปัจจุบันทั้งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกตั้งเกณฑ์เพื่อใช้กันทั่วๆไป ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลทั่วโลก สำหรับประเทศไทยผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” มาตั้งแต่ปี 2548 และจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ในปี 2564 และจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ในปี 2574
ประเทศไทยดูแลผู้สูงอายุฉบับที่2 (พ.ศ.2545-2564) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่า “ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม” คือ เน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีมีคุณชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้นานที่สุด และสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม หากผู้สูงอายุได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม กระทรวงสาธารณสุขมีแบบฟอร์มการบันทึกสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่สามารถประเมินตนเองได้ว่ามีพฤฒิกรรมการบริโภคเหมาะสมหรือไม่ สามารถประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุแต่ละคนได้ ดังนั้นผู้สูงอายุทุกคนไม่ควรละเลยเกี่ยวกับโภชนาการอาหารการกินมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้สูงอายุหลายๆด้านมีความสัมพันธ์กับอาหารการกิน เช่น การรับรสอาหารที่เปลี่ยนไป การดูดซึมแคลเซียมลดลง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบการย่อยอาหาร สร้างน้ำดีได้น้อย ทำให้ความยากอาหารลดลง มีปัญหาการเคี้ยว กลืนอาหารลำบาก ฟักหัก ความซึมเศร้า ฯลฯ
ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ (Nutrient requirement of old age)
ชนิดของอาหารในแต่ละกลุ่มมีคุณค่าสารอาหารต่างๆไม่เท่ากันดังนั้นการบริโภคอาหารหลากหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เป็นหนทางหนึ่งที่จะมีโอกาสได้คุณค่าสารอาหารโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมได้ แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ผู้บริโภคได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจึงมีการกำหนดปริมาณของสารอาหารดังต่อไปนี้
1. พลังงาน หลังอายุ 25 ปี อาหารที่กินควรลดปริมาณลงแต่เน้นเรื่องคุณภาพให้มากขึ้น เพราะร่างกายมีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายน้อยลง การทำงานของต่อมต่างๆในร่างกายลดลง ควรรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยลง เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ขนมหวาน เพื่อป้องกันโรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด กองโภชนาการกรมอนามัย เสนอให้ลดลง 100 กิโลแคลอรี่ทุก10 ปีที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุชาย ≥70 ปี ต้องการพลังงานวันละ 1,750 กิโลแคลอรี่ ผู้หญิง อายุ≥70 ปี ต้องการพลังงานวันละ 1,550 กิโลแคลอรี่
พลังงาน (กิโลแคลอรี่) | วิตามินบี 6 (มิลลิกรัม) | ||||
โปรตีน (กรัม) | วิตามินบี 12 (มิลลิกรัม) | ||||
วิตามินเอ (ไมโครกรัม) | แคลเซียม (มิลลิกรัม) | ||||
วิตามินดี (ไมโครกรัม) | ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) | ||||
วิตามินซี (ไมโครกรัม) | เหล็ก (มิลลิกรัม) | ||||
วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม) | แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) | ||||
วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม) | สังกะสี (มิลลิกรัม) | ||||
ไนอาซิน (มิลลิกรัม) | ไอโอดีน (ไมโครกรัม) |
ที่มา: คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย, 2546.
แหล่งข้อมูล:
- ประไพศรี ศิริจักรวาล. FBDGs ผู้สูงอายุไทย. ว.สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 2561;127.
- อบเชย วงศ์ทอง. โภชนศาสตร์ครอบครัว.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.