โพซาโคนาโซล (Posacanazole)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 31 มกราคม 2564
- Tweet
- บทนำ : คือยาอะไร?
- โพซาโคนาโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
- โพซาโคนาโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โพซาโคนาโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โพซาโคนาโซลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- โพซาโคนาโซลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โพซาโคนาโซลอย่างไร?
- โพซาโคนาโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโพซาโคนาโซลอย่างไร?
- โพซาโคนาโซลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- เชื้อรา โรคเชื้อรา (Fungal infection)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
- เอโซล (Azole antifungals)
- ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs)
- กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)
บทนำ : คือยาอะไร?
ยาโพซาโคนาโซล (Posacanazole) เป็นยาต้านเชื้อรากลุ่มไตรเอโซล (Triazole, ยา กลุ่มย่อยในกลุ่มยา Azole) ในต่างประเทศแถบอเมริกาจะใช้ชื่อการค้าว่า “Noxafil” แถบประ เทศแคนาดาใช้ชื่อว่า “Posanol” ซึ่งกลุ่มเชื้อราที่ตอบสนองต่อยานี้ได้ดีเช่น Candida spp./ species, Aspergillus spp., Coccidioides immitis, Fonsecaea pedrosoi, และ Zygomy cetes spp.
ประโยชน์ทางคลินิกได้นำยานี้ไปรักษาการติดเชื้อราในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง โพซาโคนาโซลมีรูปแบบของยาแผนปัจจุบันทั้งเป็นยาฉีด ยาเม็ด และยาน้ำแขวน ชนิดรับประทาน
ยานี้ถูกดูดซึมได้ดีจากทางระบบเดินอาหาร โดยเมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีน ได้ถึงประมาณ 98 - 99% ตัวยาจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีโดยตับอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งร่างกายจะต้องใช้เวลาประมาณ 35 ชั่วโมง (หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 16 - 31 ชั่วโมง) เพื่อกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือดและขับผ่านทิ้งไปกับอุจจาระเสียส่วนมาก (ประมาณ 77%) ส่วนที่เหลือจะถูกขับทิ้งไปกับปัสสาวะ
สำหรับประเทศไทย ยาโพซาโคนาโซลจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ประ กอบในการสั่งจ่ายให้กับคนไข้ เราสามารถพบเห็นการใช้ยานี้ตามสถานพยาบาลใหญ่ๆ และใช้รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อราในระยะลุกลาม อย่างไรก็ตามก่อนการใช้ยานี้นอกจากต้องคำนึงถึงประ สิทธิภาพในการรักษาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่มีมากและอาจรุนแรงต่อผู้ป่วยบางราย ดังนั้นระหว่างการใช้ยาจะต้องมีการติดตามผลการรักษารวมถึงผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และห้ามปรับขนาดรับประทานด้วยตนเองโดยเด็ดขาด
โพซาโคนาโซลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยาโพซาโคนาโซลมีสรรพคุณรักษาโรค/ ข้อบ่งใช้:
- รักษาและป้องกันอาการติดเชื้อราในระยะลุกลาม ซึ่งพบมากในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี/ โรคเอดส์
- รักษาการติดเชื้อราแคนดิดา/โรคแคนดิไดอะซิส ในช่องปากและคอหอย (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor. com บทความเรื่องเชื้อราช่องปาก)
โพซาโคนาโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาโพซาโคนาโซลคือ ตัวยาจะเข้าไปลดการสังเคราะห์ Ergosterol โดยการรบกวนการทำงานของโปรตีนที่ชื่อ Cytochrome P450 การขาด Ergosterol ซึ่งเป็นสารสำ คัญของผนังเซลล์ของเชื้อราจะทำให้เกิดการซึมผ่านหรือการรั่วไหลของสารภายในเซลล์ของเชื้อราและทำให้เชื้อราตายลงในที่สุด
โพซาโคนาโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาโพซาโคนาโซลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน ขนาด 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 100 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาฉีด ขนาด 300 มิลลิกรัม/ขวด
โพซาโคนาโซลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาโพซาโคนาโซลมีขนาดการใช้ยาได้หลากหลายขึ้นกับชนิดของโรคและรูปแบบของยาซึ่งจะต้องเป็นตามคำสั่งแพทย์ผู้รักษา ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในการรับประทานสำหรับรักษาและป้องกันการติดเชื้อราในระยะลุกลาม เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง
- เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก): ขนาดการใช้ยานี้ในเด็กต้องขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น และยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจนในการใช้ยานี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี
*****หมายเหตุ:
- ควรรับประทานยานี้พร้อมอาหาร
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาโพซาโคนาโซล ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาโพซาโคนาโซลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/ มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาโพซาโคนาโซลสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อนึ่ง การลืมรับประทานยานี้บ่อยๆหลายครั้ง นอกจากจะทำให้อาการโรคไม่ดีขึ้นแล้วในบาง กรณียังอาจส่งผลให้เกิดการลุกลามของโรคมากยิ่งขึ้น
โพซาโคนาโซลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาโพซาโคนาโซลสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- เป็นไข้
- ปวดหัว
- อ่อนแรง
- ขาบวม ตัวบวม
- วิงเวียน
- อ่อนเพลีย
- ตาพร่า
- ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
- คลื่นไส้-อาเจียน
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- เกิดความผิดปกติของเลือด เช่น
- โรคซีด
- ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
- เกล็ดเลือดต่ำ
- นอกจากนี้ยังอาจเกิด
- ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือสูงก็ได้
- มีการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนต้น
- น้ำตาลในเลือดสูง
- ไอ
- มีระดับของเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, เกลือแคลเซียมในเลือดต่ำ และเกลือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
- พบผื่นคันตามผิวหนัง
- อาจติดเชื้อเริม
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- นอนไม่หลับ
- ระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดเพิ่มขึ้น
- ยานี้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการแพ้ยาขึ้นได้
- ภาวะตับล้มเหลว
- มีอาการของ Stevens Johnson syndrome
มีข้อควรระวังการใช้โพซาโคนาโซลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาโพซาโคนาโซล เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี การใช้ยากับเด็กที่อายุมากกว่า 13 ปี จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
- ห้ามใช้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ เช่นยา Sirolimus (ยากดภูมิคุ้มกัน), Ergot alkaloids (ยากลุ่มรักษาโรคไมเกรน), Terfenadine (ยารักษาโรคภูมิแพ้), Astemizole (ยา Antihistamine/ ยาแก้แพ้), Cisapride, Pimozide (ยาทางจิตเวช), Halofantrine (ยารักษาโรคไข้จับสั่น) และ Quinidine
- ระวังการใช้ยานี้กับ สตรีตั้งครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (Azole)
- ระหว่างการใช้ยานี้ต้องเฝ้าระวังและติดตามการทำงานของตับว่ายังเป็นปกติดีหรือไม่ หากตรวจพบความผิดปกติของตับต้องหยุดการใช้ยานี้ทันที
- ระวังการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขณะที่ได้รับยาโพซาโคนาโซล
- ระหว่างใช้ยานี้ต้องเฝ้าระวังเรื่องสมดุลของน้ำและเกลือแร่ต่างๆในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
- ระหว่างการใช้ยานี้หากเกิดภาวะท้องเสียหรืออาเจียนอย่างรุนแรง ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งแพทย์/ส่งโรงพยาบาลทันที
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไตระยะรุนแรง
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาโพซาโคนาโซลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
โพซาโคนาโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาโพซาโคนาโซลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาโพซาโคนาโซลร่วมกับยาบางกลุ่ม เช่นยา Antacids, Cimetidine, Rifabutin, Phenytoin และ Metoclopramide สามารถทำให้ความเข้มข้นของยาโพซาโคนาโซลในกระแสเลือดลดต่ำ ลงจนส่งผลต่อการรักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือแพทย์จะปรับขนาดรับประทานของยาทั้ง 2 กลุ่มให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาโพซาโคนาโซลร่วมกับยาบางกลุ่ม เช่นยา Benzodiazepines, Tacrolimus (ยากดภูมิคุ้มกัน), Ritonavir, Atazanavir, Digoxin และ Zolpidem (ยานอนหลับ) อาจทำให้ความเข้มข้นในกระแสเลือดของยากลุ่มดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นจนก่อให้เกิดอาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงของยาเหล่านั้นติดตามมา หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาโพซาโคนาโซลร่วมกับยากลุ่ม Macrolides อาจทำให้ร่างกายต้องใช้เวลาในการกำ จัดยาทั้งคู่ยาวนานขึ้น การใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานของยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- การใช้ยาโพซาโคนาโซลร่วมกับยาลดไขมันในเลือด เช่นยา Atorvastatin สามารถทำให้ระดับยาลดไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดการทำลายตับของผู้ป่วย และในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ซึ่งจะเป็นเหตุต่อเนื่องของการทำลายอวัยวะไตติดตามมา ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นตายได้ การจะใช้ยาร่วมกันได้อย่างปลอดภัยแพทย์จึงต้องปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละบุคคล และต้องเฝ้าติดตามการทำงานของอวัยวะที่สำคัญเช่น ตับ-ไต อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ควรเก็บรักษาโพซาโคนาโซลอย่างไร?
สามารถเก็บยาโพซาโคนาโซล:
- เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
โพซาโคนาโซลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาโพซาโคนาโซล มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Noxafil (น็อกซาฟิล) | MSD |
POSANOL (โพซานอล) | Schering-Plough Canada Inc. |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Posaconazole#Clinical_use [2021,Jan23]
2 http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Noxafil/ [2021,Jan23]
3 https://www.mims.com/thailand/drug/info/posaconazole?mtype=generic[2021,Jan23]
4 http://www.drugs.com/drug-interactions/posaconazole-index.html?filter=3&generic_only=[2021,Jan23]
5 http://www.merck.com/product/usa/pi_circulars/n/noxafil/noxafil_pi.pdf [2021,Jan23]
6 http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/drugInfo.cfm?setid=b073b082-7b57-4423-8c06-4fd4263d6f84#section-3 [2021,Jan23]
7 http://www.merck.ca/assets/en/pdf/products/POSANOL-PM_E.pdf [2021,Jan23]