โตแล้วก็มีพยาธิได้ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 11 มกราคม 2563
- Tweet
ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิสตรองจิลอยด์ ได้แก่
- ผู้ที่เดินเท้าเปล่า
- ผู้ที่สัมผัสกับสิ่งปฏิกูลหรือของเสียของมนุษย์
- อาชีพที่ทำงานสัมผัสกับดิน เช่น เกษตรกรรม เหมืองถ่านหิน
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HTLV-1
การวินิจฉัยโรคพยาธิสตรองจิลอยด์ทำได้ด้วยการ
- ตรวจเลือดซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
- ตรวจอุจจาระเพื่อหาตัวอ่อนพยาธิ (มักพบประมาณสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการติดเชื้อหรืออาจไม่พบเลย)
สำหรับการรักษา แนะนำให้ผู้ที่ติดเชื้อทุกคนเข้ารับการรักษาแม้ว่าจะไม่แสดงอาการแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะจะมีความเสี่ยงในการพัฒนาไปเป็น Hyperinfection syndrome และ/หรือ อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้ โดยยาที่ใช้คือ ยาถ่ายพยาธิ ซึ่งได้แก่
- Ivermectin
- Thiabendazole
- Albendazole
และควรทำการตรวจซ้ำหลังการรักษา 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อแล้ว ซึ้งหากยังพบตัวอ่อนอีกก็ต้องทำการรักษาอีก
นอกจากนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย จึงมีการแนะนำให้ผู้ป่วยที่จะใช้วิธีการรักษากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive therapy) โดยเฉพาะการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ได้ทำการตรวจหาพยาธินี้ก่อนเริ่มทำการรักษา
ส่วนการป้องกันทำไดโดย
- สวมรองเท้าเมื่อเดินบนดิน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอุจจาระหรือสิ่งปฏิกูล
- มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลและอุจจาระที่ดี
แหล่งข้อมูล:
- Strongyloidiasis. https://www.cdc.gov/parasites/strongyloides/ [2020, January 10].
- Strongyloidiasis. https://www.who.int/intestinal_worms/epidemiology/strongyloidiasis/en/ [2020, January 10].