โตแล้วก็มีพยาธิได้ (ตอนที่ 2)

โตแล้วก็มีพยาธิได้-2

      

โรคพยาธิสตรองจิลอยด์สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา โดยพบมาในบริเวณเขตร้อนและอุ่น ในชนบทและพื้นที่เกษตรกรรม แต่ก็อาจพบในที่อื่นๆ ได้เช่นกัน ซึ่งมีการประเมินว่าทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อนี้ประมาณ 30-100 ล้านคน

โดยผู้ติดเชื้อพยาธิส่วนใหญ่จะไม่ทราบเพราะไม่แสดงอาการเฉพาะหรือมีอาการทั่วๆ ไป เช่น

ช่องท้อง

  • ปวดท้อง ท้องอืด กรดไหลย้อน
  • ท้องร่วงสลับ ท้องผูก
  • คลื่นไส้และเบื่ออาหาร

ทางเดินหายใจ

  • ไอแห้ง
  • คันคอ

ผิวหนัง

  • ผิวหนังคันเป็นผื่นแดงเมื่อหนอนไชเข้าผิวหนัง
  • มีผื่นแดงบริเวณต้นขาและก้น
  • ปากแห้ง

มีส่วนน้อยที่จะมีภาวะข้ออักเสบ โรคตับ และโรคหัวใจ

ทั้งนี้ โรคพยาธิสตรองจิลอยด์อาจรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้โดยเฉพาะในผู้ที่

  • กำลังให้ยาสเตียรอยด์ (ทั้งกินและให้ยาผ่านทางหลอดเลือด) เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease = COPD) โรคลูปัส โรคเก๊าต์ หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการให้สเตียรอยด์เพื่อการกดภูมิหรือบรรเทาอาการ
  • ติดเชื้อไวรัส HTLV-1 (Human T-Cell Lymphotropic Virus-1)
  • กลุ่มโรคเลือดที่เป็นมะเร็ง (Hematologic Malignancy) เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (Leukemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
  • ผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ

แหล่งข้อมูล:

  1. Strongyloidiasis. https://www.cdc.gov/parasites/strongyloides/ [2020, January 9].
  2. Strongyloidiasis. https://www.who.int/intestinal_worms/epidemiology/strongyloidiasis/en/ [2020, January 9].