โซทาลอล (Sotalol)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 28 กรกฎาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- โซทาลอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- โซทาลอลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โซทาลอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โซทาลอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- โซทาลอลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โซทาลอลอย่างไร?
- โซทาลอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโซทาลอลอย่างไร?
- โซทาลอลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmia)
- โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart disease หรือ Cardiovascular disease)
- เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อีเคจี อึซีจี (Electrocardiogram หรือ EKG หรือ ECG)
บทนำ
ยาโซทาลอล (Sotalol) เป็นยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta blocker) ถูกนำมารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias) ถูกค้นพบครั้งแรกที่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ซึ่งขณะนั้นใช้เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่านั้น อีก 20 ปีต่อมาจึงนำมาใช้ทางคลินิกเพื่อรักษาอาการหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและเต้นเร็วเกินไป (Ventricular fibrillation & tachycardia) ชื่อการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดีของยานี้คือ “Betapace” ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบชองยาชนิดรับประทาน
ยาโซทาลอลมีการดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ประมาณ 90 - 100% และออกฤทธิ์ภาย ใน 1 - 2 ชั่วโมงหลังรับประทาน ตัวยาในกระแสเลือดจะไม่ค่อยจับตัวกับพลาสมาโปรตีนมากเท่าไรนัก และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีโดยตับ ยานี้สามารถผ่านเข้ารกรวมถึงน้ำนมของมารดาได้ แต่ผ่านเข้าในสมองและในน้ำไขสันหลังได้เล็กน้อย ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 10 - 20 ชั่ว โมงเพื่อกำจัดยาออกจากกระแสเลือด 50% โดยผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะเสียเป็นส่วนมาก
ปัจจุบันพบว่ามีการนำยาโซทาลอลมารักษาอาการหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน สิ่งสำคัญที่ควรทราบ ในบางครั้งกับผู้ป่วยบางราย ยาโซทาลอลอาจก่อให้เกิดปัญหาชีพจรเต้นผิดปกติ (ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ Prolonged QT interval) หรือไม่ก็ก่อปัญหาให้กับไตของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยที่เริ่มได้รับยานี้ แพทย์จะตรวจสอบสภาพการทำงานของหัวใจและไตว่ายังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ซึ่งมักจะใช้เวลา 3 วันเป็นอย่างต่ำเพื่อการตรวจสอบในสถานพยาบาล และด้วยเป็นยาอันตรายจึงถือเป็นข้อห้ามมิให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนขนาดยานี้และ/หรือหยุดยานี้ด้วยตนเองโดยเด็ดขาด
โซทาลอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาโซทาลอลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะและช่วยควบคุมให้การเต้นของหัวใจเป็นไปอย่างปกติ
โซทาลอลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาโซทาลอลจะออกฤทธิ์กับตัวรับในกล้ามเนื้อหัวใจที่มีชื่อว่า Beta-adrenergic receptor ส่งผลให้การเต้นของหัวใจและความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติ
โซทาลอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาโซทาลอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 80, 120, 160 และ 240 มิลลิกรัม/เม็ด
โซทาลอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาโซทาลอลมีขนาดรับประทานสำหรับรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะดังนี้เช่น
- ผู้ใหญ่: เริ่มต้นรับประทานครั้งละ 80 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งเช้า - เย็น จากนั้นแพทย์จะตรวจ สอบการเต้นของหัวใจและการทำงานของไตว่าทำงานปกติหรือไม่ หากจำเป็นสามารถเพิ่มขนาดรับ ประทานเป็นครั้งละ 120 - 160 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง โดยทั่วไปขนาดรับประทานที่เหมาะสมกับผู้ ป่วยส่วนมากอยู่ที่ 160 - 320 มิลลิกรัม/วันโดยแบ่งรับประทานเป็น 2 - 3 ครั้ง ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับยา 480 - 640 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป: ให้รับประทานยาโดยคำนวณจากน้ำหนักตัวร่วมกับส่วนสูง (Body surface area/พื้นที่ผิวของร่างกาย) ของเด็ก ขนาดรับประทานเริ่มต้นครั้งละ 30 มิลลิกรัม/พื้นที่ผิวของร่างกาย 1 ตารางเมตรวันละ 3 ครั้ง หากจำเป็นแพทย์อาจเพิ่มขนาดรับประทานยาเป็นครั้งละ 60 มิลลิกรัม/พื้นที่ผิวของร่างกาย 1 ตารางเมตรวันละ 3 ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า2ปี: ข้อมูลการศึกษาขนาดยาในเด็กกลุ่มนี้ยังไม่แน่ชัด การใช้ยานี้ในเด็กวัยนี้ จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาโซทาลอล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาโซทาลอลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิรอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อใหิยาระหว่างยากับยา้เกิดผลข้างเคียงได้
โซทาลอลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาโซทาลอลสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น ตาพร่า เจ็บหน้าอก รู้สึกสับสน อึดอัด/หายใจลำบาก วิงเวียนอาจเป็นลม เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นช้าหรือเต้นเร็วผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน ใบหน้า-นิ้ว-ขา-เท้าบวม ปวดท้อง ปวดตามร่างกาย ไอ อ่อนแรง มีไข้ หนาวสั่น หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดข้อ เสียงแหบ ปัสสาวะขัด น้ำหนักเพิ่ม มีจุดสีแดงขึ้นตามผิวหนัง
สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดอาจพบอาการวิตกกังวล ตัวเย็น ผิวซีด ซึมเศร้า หิวอาหารบ่อย ฝันร้าย มีอาการลมชัก พูดจาไม่ชัดเจน ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
มีข้อควรระวังการใช้โซทาลอลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาโซทาลอลเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรนอกจากมีคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
- ผู้ป่วยจะต้องถูกตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ทั้งก่อนและหลังได้รับยาโซทาลอล
- ระหว่างการใช้ยานี้แพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามปรับขนาดการรับประทานยานี้เอง
- ห้ามหยุดรับประทานยานี้โดยมิได้มีคำสั่งจากแพทย์ด้วยจะเกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้น ผิดจังหวะ หรือบางกรณีอาจถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น
- กรณีที่มีอาการข้างเคียงมากและรบกวนต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ให้กลับไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดเพื่อปรับแนวทางการรักษาใหม่
- ห้ามรับประทานยานี้พร้อมสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า โรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ที่ตรวจเลือดพบเกลือแร่โพแทสเซียมและแมกนีเซียมในร่างกายต่ำ
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาโซทาลอลด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
โซทาลอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาโซทาลอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- การใช้ยาโซทาลอลร่วมกับยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นเช่น Disopyramide, Quinidine, Procainamide และ Amiodarone จะรบกวนการตอบสนองของร่างกายต่อการรักษาด้วยยาโซทาลอล ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้โซทาลอลร่วมกับยากลุ่มดังกล่าวข้างต้น
- การใช้ยาโซทาลอลร่วมกับยาอินซูลินหรือยาต้านเบาหวานชนิดอื่นๆอาจเกิดการรบกวนฤทธิ์ของอินซูลินหรือของยาต้านเบาหวานและทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- ห้ามใช้ยาโซทาลอลร่วมกับยา Clonidine ด้วยจะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา กรณีที่ต้องใช้ยาโซทาลอลต้องหยุดการใช้ยา Clonidine ก่อนอย่างน้อยหลายๆวัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโซทาลอลร่วมกับยา Calcium carbonate ด้วยจะทำให้ฤทธิ์การรักษาของโซทาลอลลดต่ำลงไป หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรเว้นระยะเวลาการใช้ยาให้ห่างกัน 2 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
ควรเก็บรักษาโซทาลอลอย่างไร?
ควรเก็บยาโซทาลอลภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่ แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
โซทาลอลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาโซทาลอลที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Betapace (เบตาเพส) | Bayer |
Sotacor (โซตาคอร์) | FARMEA |
บรรณานุกรม
- http://en.wikipedia.org/wiki/Sotalol [2015,June27]
- http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=sotalol [2015,June27]
- http://www.drugs.com/cdi/sotalol.html[2015,June27]
- http://www.mims.com/USA/drug/info/Sorine/Sorine%20Tablet?type=full [2015,June27]
- http://www.drugs.com/dosage/sotalol.html[2015,June27]
- http://www.rxlist.com/betapace-drug/indications-dosage.htm[2015,June27]
- https://www.medicines.org.uk/emc/PIL.25865.latest.pdf [2015,June27]
- http://www.empr.com/betapace-af/drug/239/ [2015,June27]
- http://www.drugs.com/uk/sotacor-80mg-tablets-leaflet.html [2015,June27]