โคลไฟเบรต (Clofibrate)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 7 กรกฎาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- โคลไฟเบรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โคลไฟเบรตอย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโคลไฟเบรตอย่างไร?
- โคลไฟเบรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- ซิมวาสแตติน (Simvastatin)
บทนำ
ยาโคลไฟเบรต (Clofibrate) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งทางคลินิกนำมาใช้เป็นยาลดไขมันในเลือดทั้งไขมันคลอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์
องค์การอนามัยโลกเคยทดลองใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมในการรักษาและป้องกันอาการกล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากอาการหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี แต่ถูกยกเลิกการใช้โคลไฟเบรตเป็นยาร่วมรักษาด้วยก่อให้เกิดผลข้างเคียง (อ่านเพิ่มเติมในหัว ข้อ ผลไม่พึงประสงค์) ที่รุนแรงติดตามมา
ยาแผนปัจจุบันของโคลไฟเบรตจะเป็นประเภทยารับประทาน ด้วยตัวยานี้ถูกดูดซึมได้เป็นอย่างดีจากระบบทางเดินอาหาร หลังจากยาเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนมากกว่า 95%ขึ้นไป ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 18 - 22 ชั่วโมงในการกำจัดปริมาณยาโคลไฟเบรต 50% ออกจากกระแสเลือดโดยผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะ
ก่อนการใช้ยานี้แพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่รับประทานรวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม หากยังไม่ได้ผลจึงจะทำการสั่งจ่ายยาลดไขมันที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีๆไป ส่วนระยะเวลาในการรับประทานยาลดไขมัน ส่วนใหญ่จะถูกจำกัดการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานด้วยเกรงเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดกับตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งยาโคลไฟเบรตก็มีข้อจำกัดการใช้ด้วยเหตุผลเดียวกัน และถือเป็นข้อควรระวังที่ต้องบอกกล่าวกับผู้บริโภคว่า ห้ามซื้อยาลดไข มันในเลือดมารับประทานเองโดยมิได้มีคำสั่งจากแพทย์โดยเด็ดขาด
โคลไฟเบรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตมีสรรพคุณดังนี้คือ ใช้รักษาภาวะ/โรคไขมันในเลือดสูง
โคลไฟเบรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตมีกลไกการออกฤทธิ์โดยตัวยาจะกระตุ้นเอนไซม์ที่มีชื่อว่า Lipoprotein lipase ทำให้เกิดการเปลี่ยนไขมัน VLDL (Very low density lipoprotein/ไขมันชนิดไม่ดี) ไปเป็น LDL (Low density lipoprotein/ไขมันชนิดไม่ดีแต่ยังดีกว่า VLDL) ได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณไขมัน VLDL ลดลง และในเวลาเดียวกันยานี้จะทำให้ร่างกายมีไขมันชนิดดีคือ HDL (High density lipoprotein) เพิ่มขึ้น ซึ่ง HDL จะคอยกำจัดไขมันชนิดไม่ดีออกจากกระแสเลือดอย่างต่อ เนื่อง จากกลไกเหล่านี้ทำให้โคลไฟเบรตมีฤทธิ์ในการรักษาตามสรรพคุณ
โคลไฟเบรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาแคปซูลชนิดรับประทานขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/แคปซูล
โคลไฟเบรตมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตมีขนาดรับประทานดังนี้เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทานวันละ 2,000 มิลลิกรัมโดยแบ่งรับประทาน สามารถรับประทานก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองในช่องทางเดินอาหาร แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยานี้พร้อมอาหาร
- เด็ก: ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนในการใช้ยานี้ในเด็ก ดังนั้นการใช้ยานี้ในเด็กจึงอยู่ในดุล พินิจของแพทย์ผู้รักษา
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาโคลไฟเบรต ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาโคลไฟเบรต อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาโคลไฟเบรตสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
โคลไฟเบรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ดังนี้เช่น เกิดภาวะเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด กระเพาะอาหารอักเสบ ท้องเสีย ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย มีผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง เกิดภาวะโลหิตจาง น้ำหนักเพิ่ม ง่วงนอน มีภาวะตับโต เกิดนิ่วในถุงน้ำดี และมีภาวะตับอ่อนอักเสบ
มีข้อควรระวังการใช้โคลไฟเบรตอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาโคลไฟเบรตดังนี้เช่น
- ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ในระยะรุนแรง ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ผู้ที่มีอัลบูมิน (Albumin) ในเลือดต่ำ (Hypoalbuminemia)
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับเด็กและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาโคลไฟเบรตด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
โคลไฟเบรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาโคลไฟเบรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น
- การใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมกับยา Lovastatin จะเกิดความเสี่ยงทำให้ตับเกิดความเสียหาย อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย/กล้ามเนื้อลายบาดเจ็บรุนแรง (Rhabdomyoly sis) หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีๆไป
- การใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมกับยา Warfarin อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หากจำเป็น ต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมกับยา Zidovudine ด้วยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อลายสลาย รวมถึงมีภาวะไตเสียหายติดตามมา
- การใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมกับยา Chlorpropamide จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาก เกิดอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงนอน คลื่นไส้ หิวอาหาร ตัวสั่น อ่อนแรง หัวใจเต้นเร็ว หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษาโคลไฟเบรตอย่างไร?
ควรเก็บยาโคลไฟเบรตในอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
โคลไฟเบรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาโคลไฟเบรตที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Atromid-S (อะโทรมิด-เอส) | WYETH |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Clofibrate [2015,June6]
2. http://www.mims.com/usa/drug/info/clofibrate/?type=full&mtype=generic#Dosage [2015,June6]
3. http://www.drugs.com/drug-interactions/clofibrate-index.html?filter=3&generic_only= [2015,June6]
4. http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=clofibrate [2015,June6]