โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือ พลาวิกซ์ (Plavix)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 4 เมษายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- โคลพิโดเกรลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โคลพิโดเกรลอย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโคลพิโดเกรลอย่างไร?
- โคลพิโดเกรลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmia)
- โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart disease หรือ Cardiovascular disease)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
- สะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)
บทนำ
ยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือยาชื่อการค้าที่รู้จักแพร่หลาย คือ ‘ยาพลาวิกซ์ (Plavix)’ เป็นยาชนิดรับประทาน ใช้ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่เกิดจากการรวมตัวของเกล็ดเลือดหรือจากลิ่มเลือด ทำให้ขัดขวางและลดการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะสมองและหัวใจ
วงการแพทย์นำยานี้มาใช้ควบคู่ไปกับ Aspirin ซึ่งเป็นยาดั้งเดิมที่ใช้ป้องกันการอุดตันในหลอดเลือด พบว่าโคลพิโดเกรลมีประสิทธิภาพดีกว่า รวมถึงฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็น้อยกว่า
จากการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic, การศึกษาความเป็นไปของยาเมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย) ของยานี้พบว่า โคลพิโดเกรลดูดซึมได้จากทางเดินอาหารมากกว่า 50% เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดสามารถรวมกับพลาสมาโปรตีนได้ประมาณ 94 - 98% ตับจะคอยเปลี่ยนโครง สร้างทางเคมีของยา ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลา 7 - 8 ชั่วโมง เพื่อกำจัดยาออกจากร่างกาย 50% โดยผ่านไปกับปัสสาวะและอุจจาระ
คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุโคลพิโดเกรลลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยระบุเงื่อนไขการใช้ยาดังนี้
- ใช้แทนยา Aspirin ในกรณีที่ผลการรักษาของ Aspirin ในด้านโรคหลอดเลือดหัวใจใช้ไม่ได้
- ใช้ร่วมกับยา Aspirin ในผู้ป่วยที่ใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด (Stent) เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
- ใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับ Aspirin แล้วยังเกิดอาการตีบตันของหลอด เลือดกลับมาใหม่ (Acute coronary syndrome or recurrent thrombotic events)
- กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด Non-ST elevation ให้ใช้ยา Clopidogrel ร่วมกับยา Aspirin ไม่เกิน 1 ปี
ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องการใช้โคลพิโดเกรลร่วมกับ Aspirin ด้วยอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออกมากกว่าใช้ยาเพียงตัวใดตัวหนึ่ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจัดเป็นโรคที่มีอัน ตรายสูง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา หลังเข้ารับการรักษาผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวและรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
โคลพิโดเกรลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
โคลพิโดเกรลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- ป้องกันลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (Prophylaxis of thromboembolic disorders)
- รักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome)
- รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation)
โคลพิโดเกรลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
โคลพิโดเกรลมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการรวมตัวของ Adenosine diphosphate (ADP, สารประกอบสำคัญในกระบวนการใช้พลังงานของร่างกาย) กับเกล็ดเลือด(Platelets) รวมถึงชะลอกลไกการรวมตัวของ Fibrinogen (สารชนิดหนึ่งที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด) และลดการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด จึงมีฤทธิ์ในการรักษาตามสรรพคุณ
โคลพิโดเกรลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
โคลพิโดเกรลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- เป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 75 และ 300 มิลลิกรัม/เม็ด
โคลพิโดเกรลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาโคลพิโดเกรลมีขนาดรับประทาน เช่น
ก. สำหรับรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันประเภท Non-ST elevation acute coronary syndrome: เช่น
- ผู้ใหญ่: ครั้งแรกรับประทาน 300 มิลลิกรัม จากนั้นรับประทาน 75 มิลลิกรัมวันละครั้งร่วม กับ Aspirin 75 - 325 มิลลิกรัมวันละครั้ง ขนาด Aspirin ที่แนะนำไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัม/วัน
ข. สำหรับรักษาภาวะ/โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบเฉียบพลันประเภท ST segment elevation acute myocardial infarction: เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 75 มิลลิกรัม/วัน โดยรับประทานร่วมกับ Aspirin ไม่จำเป็นต้องเริ่มรับประทานยาที่ขนาด 300 มิลลิกรัมก่อนก็ได้
ค. สำหรับรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation): เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 75 มิลลิกรัม/วันร่วมกับ Aspirin 75 - 100 มิลลิกรัม/วัน
อนึ่ง:
- สามารถรับประทานโคลพิโดเกรลก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้ ขนาดของการรับประทานยาต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์ ห้ามปรับขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยาด้วยตนเอง
- เด็ก: ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลถึงขนาดยานี้ที่ใช้ในเด็ก ดังนั้นการใช้ยานี้ในเด็กจึงขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์
- สำหรับการรักษาหรือป้องกันลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด สาเหตุนอกเหนือจากดังได้กล่าวแล้ว ขนาดของยานี้จะขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ โดยประเมินจากความรุนแรงของโรค สา เหตุของโรค อายุผู้ป่วย โรคประจำตัวอื่นของผู้ป่วย และยาต่างๆที่ผู้ป่วยใช้อยู่
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาโคลพิโดเกรล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรดังนี้ เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยา หรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาโคลพิโดเกรล อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆหรือกับอาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาโคลพิโดเกรล สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
โคลพิโดเกรลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาโคลพิโดเกรล สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- ปวดศีรษะ / ปวดหัว
- วิงเวียน
- ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน
- อาหารไม่ย่อย
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
- คลื่นไส้
- กระเพาะอาหารอักเสบ
- ท้องอืด
- อาเจียน
- เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (โรคแผลเปบติค)
- ระยะเวลาของการห้ามเลือดยาวนานขึ้น (เมื่อมีอาการเลือดออก)
- ผื่นคัน
- จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
- ตับอักเสบ
- ลมพิษ
- มีไข้
- พบภาวะเลือดออกตามผิวหนัง ในลูกตา และในโพรงจมูก
- เกิดภาวะจิตหลอน/ประสาทหลอน
- ตับอ่อนอักเสบ
- การรับรสชาติผิดปกติ
- Stevens-Johnson syndrome
- ข้ออักเสบ
- ปวดกล้ามเนื้อ
มีข้อควรระวังการใช้โคลพิโดเกรลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้โคลพิโดเกรล เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหารที่อยู่ในระยะมีเลือดออก
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น (ทั้งนี้ไม่แนะนำการใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์ นอกจากได้รับคำสั่งแพทย์เท่านั้น)
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะสูญเสียเลือดซึ่งเกิดจากบาดแผลหรือจากการผ่าตัด
- หากต้องเข้ารับการผ่าตัดและอยู่ในระหว่างการรับประทานยานี้ ควรต้องหยุดการใช้ยานี้ประมาณ 7 วันก่อนเข้ารับการผ่าตัด ทั้งนี้ต้องได้รับการยืนยันและเป็นไปตามคำสั่งจากแพทย์ผู้ รักษาเท่านั้น
- ควรแนะนำผู้ป่วยว่าระหว่างใช้ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หรือการห้ามเลือดจากบาดแผลต้องใช้เวลามากกว่าเดิม
- ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบัน ทุกชนิด (รวมยาโคลพิโดเกรลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
โคลพิโดเกรลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
โคลพิโดเกรลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาโคลพิโดเกรลร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin สามารถเพิ่มความเสี่ยงภาวะเลือดออกง่ายหรือตกเลือด หากเป็นไปได้ควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกันหรือหากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับคนไข้เป็นกรณีๆไป
- การใช้ยาโคลพิโดเกรลร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) รวมถึงยาในกลุ่ม COX-2 inhibitors (ยาแก้ปวดอีกกลุ่มหนึ่งเช่น ยา Celecoxib) สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้(เลือดออกในทางเดินอาหาร) หากต้องใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มร่วมกันควรต้องเพิ่มความระมัดระวัง หรือแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
- การใช้ยาโคลพิโดเกรลร่วมกับยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หากต้องใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มร่วมกัน ควรต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ควรเก็บรักษาโคลพิโดเกรลอย่างไร?
ควรเก็บยาโคลพิโดเกรล เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาให้พ้นแสง/ แสงแดดและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
โคลพิโดเกรลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาโคลพิโดเกรล มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Apolets (อะโพเล็ทส์) | Apotex |
Ceruvin (เซรูวิน) | Ranbaxy |
Clopidogrel Sandoz (โคลพิโดเกรล แซนดอซ) | Sandoz |
CoPlavix (โคพลาวิกซ์) | sanofi-aventis |
Plavix (พลาวิกซ์) | sanofi-aventis |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Clopidogrel [2020,Mach 28]
2 http://www.medscape.com/viewarticle/764052[2020,Mach 28]
3 http://www.google.com/patents/US20070191609[2020,Mach 28]
4 http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/45#item-8427 [2020,Mach 28]
5 http://www.mims.com/usa/drug/info/clopidogrel/?type=full&mtype=generic [2020,Mach 28]
6 http://www.mims.com/thailand/drug/info/Plavix/?type=full#Indications [2020,Mach 28]