แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha-1 adrenergic receptor agonists)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 8 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?
- แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ไมเกรน (Migraine)
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- โรคลมหลับ หรือ ภาวะง่วงเกิน (Narcolepsy)
- ตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)
- ยาไมเกรน ยาต้านไมเกรน (Antimigraine drugs)
บทนำ
ยาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha-1 adrenergic receptor agonist) หรือ แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ (Alpha-1 adrenergic agonist) เป็นกลุ่มยา หรือกลุ่มสารเคมีซึ่งออกฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ตามหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ผิวหนัง, หูรูดในช่องทางเดินอาหาร, ไต, และสมอง กลุ่มยานี้ส่งผลให้หลอดเลือดดังกล่าวเกิดการหดตัว จึงมีอิทธิพลต่ออวัยวะที่หลอดเลือดไปหล่อเลี้ยง
นอกจากนี้ยาในกลุ่มของแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ยังออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ในอวัยวะอื่นๆหดตัวได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ท่อทางเดินปัสสาวะ, กล้ามเนื้อบริเวณรูขุมขน, มดลูก, กล้ามเนื้อหูรูดของท่อทางเดินปัสสาวะ, หลอดลม, ม่านตา, ท่อทางเดินของน้ำอสุจิ, เป็นต้น และ
กลุ่มยานี้ยังออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดความอยากอาหาร, และมีผลต่อการทำงานของหัวใจ, การหลั่งน้ำลาย, การหลั่งเหงื่อได้อีกด้วย, ตัวอย่างยาในกลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ มีดังต่อไปนี้ เช่น Cirazoline, Desvenlafaxine, Etilefrine, Metaraminol, Methoxamine, Midodrine, Naphazoline, Oxymetazoline, Pseudoephedrine, Phenylephrine, Synephrine, Tetrahydrozoline, และ Xylometazoline
ประมาณครึ่งหนึ่งของยาที่กล่าวมา ถูกนำมาใช้ในการรักษา ภาวะคัดจมูก น้ำมูกมาก ยาตัวที่เหลือจะนำมาใช้ในการรักษา ภาวะความดันโลหิตต่ำ, ขยายรูม่านตา, ใช้ผสมในยาชาเฉพาะที่เพื่อลดการดูดซึมยาชาเข้าสู่ร่างกาย, กระตุ้นสมองลดอาการง่วงนอนในโรคลมหลับ เป็นต้น
ด้วยยากลุ่มนี้มีทั้งประเภท ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ การเลือกใช้ยาเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วย จึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้นที่จะคัดกรองการใช้ยาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- รักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่นยา Phenylephrine, Etilefrine, และ Midodrine
- รักษาอาการไมเกรน เช่นยา Ergotamine
- ยับยั้งการดูดซึมยาชาเฉพาะที่เข้าสู่กระแสเลือด เช่นยา Adrenaline
- บรรเทาอาการคัดจมูกจากน้ำมูกมาก เช่นยา Phenylephrine, Naphazoline, และ Tymazoline
- ลดอาการตกเลือดหลังคลอด เช่นยา Methylergonovine
- ขยายรูม่านตา เช่นยา Phenylephrine, และ Naphazoline
- รักษาอาการโรคลมหลับ หรือมีอาการง่วงนอนมากเกินไป (Hypersomnia and narcolepsy) เช่นยา Adrafinil และ Modafinil
- รักษาอาการซึมเศร้า เช่นยา Desvenlafaxine
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะกระ ตุ้นที่ตัวรับ (Receptor) ที่เรียกว่า แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก (Alpha-1 adrenergic receptor)ในบริเวณผนังหลอดเลือดที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆที่มีตัวรับนี้ ทำให้หลอดเลือดและอวัยวะเหล่านั้นตอบ สนองตามชนิดของกลุ่มยาที่เข้าไปกระตุ้นและก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยาเม็ดที่ผสมรวมกับยาอื่น ขนาดความแรง 5, 10, 12.5, 15 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาเม็ดขนาด 2.5, 5, 10, 50 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาแคปซูลที่ผสมรวมกับยาอื่น ขนาดความแรง 10 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาหยอดตา ขนาดความเข้มข้น 0.09, 0.1, 0.12, 2.5, 10 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาหยอดจมูก ขนาดความเข้มข้น 0.025 และ 0.05 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาสเปรย์จมูก ขนาดความเข้มข้น 0.05 และ 0.1 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาน้ำที่ผสมรวมกับยาอื่น ขนาดความแรง 2.5, 5, 10 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
- ยาน้ำ ขนาดความแรง 10 มิลลิกรัม/ มิลลิลิตร
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยในกลุ่มยาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีหลากหลายรายการของตัวยา ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลของตัวผู้ป่วย (เช่น อาการเกิดกับอวัยวะใด ความรุนแรงของอาการ อายุ และน้ำหนักตัวผู้ป่วย) ร่วมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการ และมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาในกลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาในกลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาในกลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยากลุ่มแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ จากยา(ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- หัวใจเต้นเร็ว
- เหงื่อออกมาก
- หงุดหงิด
- ประสาทหลอนหรือจิตหลอน
- นอนไม่หลับ
- ซีด /โรคซีด
- ความดันโลหิตสูง
- เจ็บหน้าอก
- ปวดหัว
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ/ ชีพจรเต้นผิดจังหวะ
- วิงเวียน
- คลื่นไส้-อาเจียน
- ปากคอแห้ง
- ฝันร้าย
- อ่อนแรง
- ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
- วิตกกังวล
- เมื่อตรวจปัสสาวะจะพบมีโปรตีนในปัสสาวะ
- การมองเห็นไม่ชัดเจนจากรูม่านตาขยาย
มีข้อควรระวังการใช้แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มนี้
- ห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่ม MAOI
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคต้อหิน
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตประสาทบางประเภท เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงของการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการใช้ยานี้ในเด็ก
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านหลอดเลือดในบริเวณสมอง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีประวัติโรคมาลาเรีย
- ระวังการใช้ยานี้ใน หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และไม่แนะนำการใช้ยานี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
- ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพร ต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ มีหลายตัวยา ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่าง ปฏิกิริยาระหว่างยาเฉพาะยาที่ใช้บ่อยของยาในกลุ่มนี้กับยาตัวอื่นๆ เช่น
ควรเก็บรักษาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?
สามารถเก็บยาแอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius) แต่มีบางสูตรตำรับยาที่ต้องเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2 - 8 องศาเซลเซียส เช่น ยาหยอดตา ดังนั้นการใช้ยา/เก็บยาต่างๆจึงควรต้องอ่านเอกสารกำกับยา/ ฉลากยา ให้ดี
- นอกจากนั้นคือ
- ควรเก็บยาทุกชนิดในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น และ
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
แอลฟา-1 อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Lotronex (โลโทรเน็ค) | GSK |
Iliadin (อิลีอะดิน) | Merk |
Metzodin (เมทโซดิน) | Sriprasit Pharma |
Oxymet (ออกซิเมท) | Greater Pharma |
Pernazene Oxy (เพอร์นาซีนี ออกซี) | sanofi-aventis |
Hyposia (ไฮโพเชีย) | Asian Pharm |
Circula (เซอร์คูลา) | T. Man Pharma |
Otrivin (โอทริวิน) | Novartis |
Gutron (กูตรอน) | Nycomed Austria |
Buracard (บูราการ์ด) | Burapha |
Aorinyl (เอโอรีนิล) | Medicine Products |
Apracur (อะพราเคอร์) | Apracure |
Asiatapp (เอเชียแท็ป) | Asian Pharm |
Bepeno (เบเพโน) | Milano |
Bepeno-G (เบเพโน-จี) | Milano |
Bromceryl (บรอมเซอริล) | Suphong Bhaesaj |
Bromesep (บรอมอีเซพ) | Siam Bheasach |
Bromlamine (บรอมลามีน) | Chinta |
Bromped (บรอมเพด) | B L Hua |
Bromtussia (บรอมทัสเซีย) | Asian Pharm |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Alpha-1_adrenergic_receptor [2020,Nov7]
2 http://en.wikipedia.org/wiki/Alpha-adrenergic_agonist[2020,Nov7]
3 http://www.encyclopedia.com/doc/1G2-3406200019.html [2020,Nov7]
4 http://www.livestrong.com/article/249077-side-effects-of-an-adrenergic-agonist-drug/ [2014,Nov8]
5 https://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fUSA%2fdrug%2finfo%2fdesvenlafaxine%2520%2f%3ftype%3dfull%26mtype%3dgeneric#Actions [2020,Nov7]
6 https://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fUSA%2fdrug%2finfo%2fmetaraminol%2f%3ftype%3dbrief%26mtype%3dgeneric [2020,Nov7]
7 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=Oxymetazoline%20 [2020,Nov7]
8 http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fthailand%2fdrug%2finfo%2fmethoxamine9%3fmtype%3dgeneric [2020,Nov7]
9 http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fthailand%2fdrug%2finfo%2fxylometazoline%2bhydrochloride%3fmtype%3dgeneric [2020,Nov7]