แอมโมเนียฟุ้งกระจายหนีกระเจิง (ตอนที่ 2)

แอมโมเนียฟุ้งกระจายหนีกระเจิง-2

      

คุณสมบัติของแอมโมเนีย (ต่อ)

  • ก๊าซแอมโมเนียละลายในน้ำได้ง่ายในรูปของแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (Ammonium hydroxide = NH4OH)
  • ก๊าซแอมโมเนียสามารถนำมาอัดให้อยู่ในรูปของของเหลวได้ (Aqueous ammonia / ammonia solution)
  • แอมโมเนียมักขนส่งในรูปของของเหลวโดยใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นโลหะ
  • แอมโมเนียมีจุดติดไฟไม่สูง แต่บรรจุภัณฑ์ของแอมโมเนียอาจระเบิดได้เมื่อพบความร้อนสูง
  • แอมโมเนียสามารถผสมกับสารอื่นได้ เช่น Ammonium chloride, Ammonium sulfate และ Ammonium nitrate

ประมาณร้อยละ 80 ของแอมโมเนียที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะถูกนำไปใช้ทำปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร นอกจากนี้ยังใช้

  • เป็นสารทำความเย็น (Refrigerant gas)
  • สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ (Antimicrobial agent) ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร
  • ทำน้ำประปาให้บริสุทธิ์
  • ผลิตพลาสติก
  • ทำระเบิด
  • เท็กซไทล์
  • ยาฆ่าแมลง
  • ผลิตสารทำความสะอาดในบ้าน
  • สารย้อมสี และสารเคมีอื่นๆ
  • เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิง
  • เป็นส่วนประกอบของยา เช่น ยาดม

คนส่วนใหญ่สัมผัสกับแอมโมเนียได้ด้วยการสูดดมก๊าซที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือที่ใช้ในฟาร์มและโรงงานอุตสาหกรรม

ก๊าซแอมโมเนียแอนไฮดรัสเป็นก๊าซที่เบากว่าอากาศและกระจายตัวลอยสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อพบความชื้น ก๊าซแอมโมเนียแอนไฮดรัสจะดูดความชื้นทำให้กลายเป็นไอมีน้ำหนักกว่าอากาศ ไอเหล่านี้จะกระจายไปตามพื้น ซึ่งหากมีการไหลเวียนของอากาศที่ไม่ดี คนที่อยู่ในบริเวณนั้นจะสามารถสัมผัสได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Ammonia. https://en.wikipedia.org/wiki/Ammonia [2020, Jun 4].
  2. The Facts About Ammonia. https://www.health.ny.gov/environmental/emergency/chemical_terrorism/ammonia_tech.htm [2020, Jun 4].
  3. Toxic Substances Portal - Ammonia. https://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=9&tid=2 [2020, Jun 4].