แอซฟิเซล-ที (Azficel-T)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาแอซฟิเซล-ที (Azficel-T) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อนำมาใช้ลดริ้วรอยของผิวหนังบริเวณจมูก การฉีดแอซฟิเซล-ทีเข้าตามริ้วรอย จะกระตุ้นให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของมนุษย์ ทำให้ริ้วรอยมีการเติมเต็มและดูจางลง ผู้ที่ต้องการใช้ ยาแอซฟิเซล-ทีจะต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพความพร้อมของร่างกาย และให้แพทย์นำตัวอย่างของผิวหนังหลังใบหูส่งเข้าโรงงานเพื่อผลิตเป็นแอซฟิเซล-ทีซึ่งมีองค์ประกอบหลักๆดังต่อไปนี้

1. ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast, เซลล์สร้างสารคอลลาเจน) ได้จากกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพโดยผลิตจาก เซลล์ผิวหนังของผู้ต้องการลดริ้วรอย(Autologous cellular product)

2. น้ำกลั่นปราศจากเชื้อ และสารประกอบประเภทเกลือ เพื่อใช้เป็นตัวกลาง และรักษาสภาพของไฟโบรบลาสต์

3. กระบวนการผลิตไฟโบรบลาสต์ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ของแอซฟิเซล-ที มีความจำเป็น ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างเช่น Amphotericin , Gentamicin ร่วมกับสาร Dimethyl sulfoxide(ตัวทำละลาย) และ Bovine serum(ซีรัมจากเลือดวัว) ซึ่งได้จากสัตว์ จำพวกวัวทำให้ในผลิตภัณ

ดังนั้น ยาแอซฟิเซล-ที จึงมีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะและสารประกอบดังกล่าวปนมาด้วย

ยาแอซฟิเซล-ทีเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จึงได้รับ การรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาในต่างประเทศตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) การใช้ผลิตภัณฑ์นี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น มาตรฐานการฉีดแอซฟิเซล-ที เพื่อลดริ้วรอยนั้นจำเป็นต้องรับการฉีดผลิตภัณฑ์นี้ถึง 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งต้องเว้นช่วงห่างกัน 3 – 6 สัปดาห์ตามคำสั่งแพทย์ สำหรับผู้รับบริการควรมารับการฉีดแอซฟิเซล-ทีตรงตามวันเวลาที่แพทย์นัดหมายทุกครั้ง

ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อลดริ้วรอยโดยแอซฟิเซล-ทีมีดังนี้

1. ตรวจสอบและยืนยันว่าแอซฟิเซล-ทีที่จะฉีดตรงกับผู้รับบริการที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นี้ถูกเตรียมขึ้นโดยมีความจำเพาะเจาะจงของแต่ละบุคคล

2. การเก็บยาแอซฟิเซล-ทีจะถูกรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2–8 องศาเซลเซียส(Celsius) ก่อนนำมาใช้ต้องปล่อยให้ผลิตภัณฑ์มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วจึงนำมาใช้กับผู้รับบริการทันที

3. ผู้ที่จะรับการฉีดแอซฟิเซล-ที จะต้องล้างใบหน้าให้เกลี้ยง ไม่ควรมีเครื่องสำอางใดๆ อยู่บนใบหน้า แพทย์จะทำความสะอาดใบหน้าและใช้ยาฆ่าเชื้อบนผิวหนังบริเวณใบหน้าก่อนฉีดยาแอซฟิเซล-ที

4. อุปกรณ์ที่ใช้ฉีด ยาแอซฟิเซล-ที ไม่ว่าจะเป็นหัวเข็มและหลอดฉีดยาจะต้องปราศจาก เชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนใดๆ

5. การฉีดยาแอซฟิเซล-ทีต้องกระทำในสถานพยาบาลที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่พบเห็นการใช้แอซฟิเซล-ที แต่ในต่างประเทศผลิตภัณฑ์นี้ถูกวางจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า LAVIV

แอซฟิเซล-ทีมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?

แอซฟิเซลที

ยาแอซฟิเซล-ที มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ โดยใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณใกล้จมูกเพื่อทำให้ริ้วรอยให้ดูจางลง

แอซฟิเซล-ทีมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาแอซฟิเซล-ที มีสารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ คือไฟโบรบลาสต์ (Fibroblasts) ที่จะกระตุ้นเซลล์ใต้ผิวหนังให้สร้างเส้นใยโปรตีนหรือที่เรียกกันว่า คอลลาเจน (Collagen) ส่งผลให้ริ้วรอยบนใบหน้าถูกเติมเต็มและดูจางลง

แอซฟิเซล-ทีมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาแอซฟิเซล-ทีมีรูปแบบการจัดจำหน่าย โดย เป็นผลิตภัณฑ์แบบฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งมีสารไฟโบรบลาสต์ (Fibroblasts)ที่เตรียมจากเนื้อเยื่อผิวหนังบริเวณหลังใบหูของผู้รับบริการแต่ละบุคคล เฉลี่ยปริมาณไฟโบรบลาสต์ประมาณ 18 ล้านเซลล์/1.2 มิลลิลิตร

แอซฟิเซล-ทีมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?

ยาแอซฟิเซล-ทีมีขนาดการบริหารยาใช้ยาดังนี้ เช่น

ยานี้ใช้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น:

  • ก่อนฉีดแอซฟิเซล-ทีต้องตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์เป็นของบุคคลที่เข้ามา รับบริการเท่านั้น
  • ห้ามใช้แอซฟิเซล-ทีของบุคคลอื่นมาฉีดแทนกันโดยเด็ดขาด
  • ทำความสะอาดใบหน้าให้ปราศจากเครื่องสำอาง เส้นขน และเครื่องประดับ
  • ลดปริมาณแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่างๆบนใบหน้าโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่สถานพยาบาล จัดเตรียมไว้
  • ฉีดยาแอซฟิเซล-ที เข้าบริเวณริ้วรอยโดยใช้อัตราส่วน 0.1 มิลลิลิตรต่อริ้วรอยที่มีความยาว 1 เซนติเมตร และผู้รับบริการจะต้องมารับการฉีด แอซฟิเซล-ทีจนครบ 3 ครั้งตามที่แพทย์นัดหมาย
  • ห้ามขัด ถู นวด กด บริเวณผิวหนังที่ฉีดแอซฟิเซล-ที แต่สามารถใช้อุปกรณ์ ประคบเย็นวางใกล้บริเวณผิวหนังที่ฉีดแอซฟิเซล-ทีเพื่อบรรเทาอาการปวด และห้ามใช้ก้อนน้ำแข็งวางทับบริเวณที่ฉีดแอซฟิเซล-ทีโดยตรง

*****หมายเหตุ:

  • แอซฟิเซล-ที มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ยาวนานประมาณ 6 เดือน
  • ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง หนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่ เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิด รวมยา แอซฟิเซล-ที ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก วิงเวียน ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น มีภาวะติดเชื้อ หรือมีภาวะเลือดออกง่าย รวมทั้งกำลัง กินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาแอซฟิเซล-ทีอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้น รุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภท สามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิด ผลข้างเคียงได้

หากลืมมารับการฉีดยาควรทำอย่างไร?

กรณีลืมมารับการฉีดยาแอซฟิเซล-ที จะต้องทำการติดต่อแพทย์ผู้รักษาและทำการนัดหมายเพื่อมารับการฉีดยาฯโดยเร็ว

แอซฟิเซล-ทีมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ที่อาจพบเห็นตรงบริเวณผิวหนังที่ได้รับการฉีดยาแอซฟิเซล-ที เช่น

  • เกิด ผื่นแดง รอยฟกช้ำ บวม ผิวหนังพอง เป็นตุ่ม
  • มีอาการปวด และ/หรือ
  • อาจเกิดเลือดออกใต้ผิวหนังที่ได้รับการฉีดยา

ทั่วไป อาการดังกล่าวสามารถหายได้เอง โดยผู้รับการฉีดยาแอซฟิเซล-ที ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ให้การรักษา

มีข้อควรระวังการใช้แอซฟิเซล-ทีอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาแอซฟิเซล-ที เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้ และ/หรือแพ้ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์แอซฟิเซล-ที
  • ห้ามใช้ขณะบริเวณผิวหนังที่จะฉีดแอซฟิเซล-ทีมีการติดเชื้อ
  • ห้ามฉีดผลิตภัณฑ์นี้ขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะติดเชื้อหรือป่วยอยู่
  • ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ สตรีในภาวะให้นมบุตร และเด็ก
  • ขณะใช้ผลิตภัณฑ์นี้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin หรือยากลุ่ม NSAIDs รวมถึงยาต้านเกล็ดเลือดด้วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกบริเวณที่ฉีดแอซฟิเซล-ที
  • อาจเกิดโรคเริมบริเวณริมฝีปาก หลังจากได้รับการฉีดผลิตภัณฑ์นี้ แพทย์จะเป็น ผู้ดูแลป้องกันได้ดีที่สุด ผู้ที่เข้ารับการฉีดแอซฟิเซล-ทีต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • อาจเกิดร่องรอยหรือรอยแผลเป็นหลังใบหูตรงบริเวณที่แพทย์สุ่มเอาเนื้อเยื่อ ผิวหนังของผู้รับบริการเพื่อนำไปผลิตแอซฟิเซล-ที
  • ผู้ที่เพิ่งได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือป่วยด้วยโรคภูมิต้านทานเล่นงานตนเอง/ โรคออโตอิมมูนจะมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นเมื่อได้รับแอซฟิเซล-ที ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์นี้กับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่แตกชำรุดหรือมีวัตถุปนเปื้อน หรือหมดอายุ
  • ให้ความร่วมมือกับแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดแอซฟิเซล-ที โดยต้องแจ้งประวัติการมี โรคประจำตัวทั้งหมดของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีภาวะเลือดออกง่าย หรืออยู่ระหว่าง เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และมารับการฉีดยาแอซฟิเซล-ที ตรงตามที่แพทย์นัดหมายทุกครั้ง

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมผลิตภัณฑ์แอซฟิเซล-ที) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่องข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ

แอซฟิเซล-ทีมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาแอซฟิเซล-ที มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์แอซฟิเซล-ที ร่วมกับ
    • ยาแอสไพริน
    • ยากลุ่มNSAIDs
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ด้วยการใช้ยาดังกล่าวร่วมกับ ยาแอซฟิเซล-ที จะทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายตามมา

ควรเก็บรักษาแอซฟิเซล-ทีอย่างไร?

ควรเก็บรักษาแอซฟิเซล-ทีดังนี้ เช่น

  • การผลิตแอซฟิเซล-ทีจากเซลล์ผิวหนังแต่ละบุคคลอาจใช้เวลานาน 11–22 สัปดาห์ จากนั้นผลิตภัณฑ์จะต้องถูกเก็บภายใต้อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
    • ห้ามเก็บผลิตภัณฑ์ในช่องแช่แข็งตู้เย็น
    • ไม่เก็บผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ
    • เก็บผลิตภัณฑ์ในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
    • เก็บผลิตภัณฑ์ให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
    • ห้ามเก็บผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการฉีดแล้วนำไปใช้ในครั้งถัดไป ให้ทิ้งทำลายตามกระบวนการของสถานพยาบาล
    • ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์นี้ลงในแม่น้ำคูคลองตามธรรมชาติ

แอซฟิเซล-ทีมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาแอซฟิเซล-ที มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Laviv (ลาวีฟ)Fibrocell Technologies, Inc.

บรรณานุกรม

  1. https://www.drugs.com/nda/azficel_t_091222.html [2018,Sept29]
  2. https://www.fda.gov/downloads/BiologicsBloodVaccines/CellularGeneTherapyProducts/ApprovedProducts/UCM260489.pdf [2018,Sept29]
  3. https://www.drugbank.ca/drugs/DB11051 [2018,Sept29]