แบะแซ หรือ น้ำเชื่อมข้าวโพด(Corn syrup)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 3 กันยายน 2559
- Tweet
- บทนำ
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดอย่างไร?
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาน้ำเชื่อมข้าวโพดอย่างไร?
- น้ำเชื่อมข้าวโพดมีชื่ออื่นอีกไหม?ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- วิตามิน (Vitamin)
- ยาลูกอม (Throat lozenge)
- ฟันผุ (Dental caries)
- โรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน (Obesity and overweight)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
บทนำ
แบะแซ หรือ น้ำเชื่อมข้าวโพด(Corn syrup) เป็นน้ำเชื่อมที่ทำจากแป้งข้าวโพดหรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า “น้ำเชื่อมกลูโคส (Glucose syrup)” นำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อปรับแต่งรสชาติ ทำให้อาหารมีลักษณะนุ่มขึ้น และช่วยเพิ่มปริมาณของมวลอาหาร หรือใช้ป้องกันการตกผลึกของน้ำตาลในกระบวนการของอุตสาหกรรมอาหาร ในเชิงพาณิชย์ น้ำเชื่อมข้าวโพดยังถูกแบ่ง เป็น 2 ประเภทคือ
ก. Light corn syrup: เป็นน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีลักษณะใส และมีรสหวานปานกลาง ใช้ปรุงรสร่วมกับวานิลลา(Vanilla,สารแต่งกลิ่นชนิดหนึ่ง)และเกลือ
ข. Dark corn syrup: เป็นน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล(น้ำตาลชนิดที่เป็นของเหลวสีน้ำตาล ที่ไม่สามารถตกผลึกได้/ Molasses) คาราเมล(Caramel,สารน้ำตาลชนิดที่มีสีน้ำตาล ทำเป็นของเหลวที่ให้ความหวาน หรือใช้ตกแต่งขนมต่าง) และสารแต่งกลิ่นที่มีรสชาติเข้มกว่า Light corn syrup
*หมายเหตุ:
- จากพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม๓ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ “แบะแซ” มาจากภาษาจีน หมายถึง สารเหนียว ใส มีรสหวาน ทําจากแป้งมันสําปะหลัง ใช้ผสมอาหาร หรือ ขนมอย่างกระยาสารท ตังเม ทําให้เกาะ ตัวเหนียว
- ปัจจุบัน ได้มีการใช้แป้งมันสำปะหลัง มาแทนแป้งข้าวโพด ในการทำอุตสาหกรรม Glucose syrup โดยเรียกว่า “Tapioca syrup หรือ Corn syrup replacer”
อนึ่ง ยังมีน้ำเชื่อมข้าวโพดอีกหนึ่งประเภทที่เรียกว่า Corn syrup solids เกิดจากการนำน้ำเชื่อมข้าวโพด มาผ่านกระบวนการเอาน้ำออกจนมีปริมาณน้ำน้อยกว่า 10% และได้น้ำตาลกลูโคสเข้มข้น(Corn syrup solids) ถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารผสมกับครีมที่ชงดื่มร่วมกับกาแฟ, ผสมในผลิตภัณฑ์อาหาร, หรือในนมดัดแปลงที่ใช้เลี้ยงทารก
นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมยา ยังนำ Corn syrup solids มาใช้เป็นส่วนผสมเพื่อกลบรสชาติของยาบางประเภท เช่น ยาลดกรด ยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่, เป็นส่วนประกอบสำคัญของยาลูกอม, และใช้เคลือบผิวของวิตามินชนิดเม็ด
น้ำเชื่อมข้าวโพด สามารถูกเผาผลาญได้จากร่างกาย การบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ย่อมจะมีผลกระทบต่อร่างกายน้อย และจัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคที่ต้องการรสชาติหวาน
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- ใช้เป็นสารปรุงแต่งรสชาติอาหาร และช่วยกลบรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ของสูตรตำรับยาต่างๆ
- ใช้เคลือบผิวของยาวิตามินชนิดเม็ด
- ใช้เป็นส่วนประกอบของยาลูกอม
- เป็นส่วนประกอบของนมดัดแปลงสำหรับเลี้ยงทารก
- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
น้ำเชื่อมข้าวโพดไม่ใช่สารออกฤทธิ์ในร่างกาย เพียงแต่ช่วยปรับแต่งรสชาติของสูตรตำรับยา หรืออาหารเท่านั้น
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- บรรจุขวดขายปลีก ขนาด 473 มิลลิลิตร
- เป็นวัตถุดิบบรรจุถัง ขนาด 280 กิโลกรัม
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
การบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพด(เป็นอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดต)มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลไม่พีงประสงค์(ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ดังนี้ เช่น เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ฟันผุ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการ ปวดหัว/ปวดศีรษะ วิงเวียน และมีปัญหาของกระเพาะอาหารและลำไส้ตามมา เช่น ท้องอืด มีลม/แก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้
มีข้อควรระวังการใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดอย่างไร?
ข้อควรระวังในการบริโภค/การใช้น้ำเชื่อมข้าวโพด คือ
- ห้ามใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดที่หมดอายุ
- ห้ามใช้ เมื่อน้ำเชื่อมข้าวโพดมีลักษณะ สี กลิ่น และรสชาติ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ห้ามเก็บน้ำเชื่อมข้าวโพดที่หมดอายุ และ/หรือที่มีผงปน ขุ่น มี สี รส กลิ่น ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ในทางเภสัชกรรม/ทางยา ไม่จัดน้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นสารออกฤทธิ์ จึงยังไม่พบรายงานภาวะยาตีกัน/ปฏิกิริยาระหว่างยาระหว่างน้ำเชื่อมข้าวโพดกับยารับประทานชนิดใดๆ
ควรเก็บรักษาน้ำเชื่อมข้าวโพดอย่างไร?
ควรเก็บน้ำเชื่อมข้าวโพดในช่วงอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ควรเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เก็บให้พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น ไม่ควรเก็บน้ำเชื่อมข้าวโพดในห้องน้ำ
น้ำเชื่อมข้าวโพดมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
น้ำเชื่อมข้าวโพดที่จำหน่ายในประเทศไทย มีชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Liquid glucose (ลิควิดกลูโคส) | Qingyuan food stuff co. |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/High_fructose_corn_syrup [2016,Aug13]
- http://www.davidlebovitz.com/2009/01/why-and-when-to-use-or-not-use-c/ [2016,Aug13]
- https://www.drugs.com/inactive/corn-syrup-202.html [2016,Aug13]
- https://www.reference.com/food/corn-syrup-solids-7b18e859553bbeef [2016,Aug13]
- https://www.alibaba.com/product-detail/brand-name-for-corn-syrup-high_1898585422.html?spm=a2700.7724857.0.0.mRxTlB [2016,Aug13]
- http://www.ba.cmu.ac.th/wp-content/uploads/pdf/_grad/2/17.pdf [2016,Aug13]
- http://www.nutritionaloutlook.com/food-beverage/tapioca-syrup-corn-syrup-replacer [2016,Aug13]