แดดจัดเสี่ยงตาย (ตอนที่ 4)

แดดจัดเสี่ยงตาย-4

      

สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมแดดนั้น แพทย์อาจใช้วิธี

  • วัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (Rectal temperature) ซึ่งจะได้ค่าที่แม่นยำที่สุดมากกว่าการวัดอุณหภูมิทางปากหรือหน้าผาก
  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่าโซเดียมหรือโพแทสเซียมและก๊าซในเลือดว่าระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลายหรือไม่
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อดูสีปัสสาวะและตรวจการทำงานของไต
  • การตรวจกล้ามเนื้อเพื่อดูว่าเนื้อเยื่อถูกทำลายหรือมีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายตัว (Rhabdomyolysis)
  • การเอ็กซเรย์หรือภาพวินิจฉัย (Imaging tests) อื่น ๆ เพื่อดูว่าอวัยวะภายในถูกทำลายหรือไม่

โดยหลักในการรักษาผู้ป่วยโรคลมแดดก็คือ การทำให้ร่างกายผู้ป่วยเย็นลงสู่ระดับอุณหภูมิปกติ เพื่อลดโอกาสที่อวัยวะจะถูกทำลาย ซึ่งแพทย์อาจใช้วิธี

  • แช่ตัวผู้ป่วยในน้ำเย็น
  • ใช้วิธีการทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporation cooling techniques) เช่น การห่มด้วยผ้าเปียกแล้วเป่าด้วยพัดลม
  • ประคบเย็บที่ขาหนีบ คอ หลัง และรักแร้ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • ให้ยาลดอาการหนาวสั่นอันเนื่องมาจากการลดอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ยาผ่อนคลายของกล้ามเนื้ออย่างยา Benzodiazepine ทั้งนี้เพราะการสั่นจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น

ส่วนการป้องกันการเกิดโรคลมแดดทำได้ด้วยการ

  • ใส่เสื้อผ้าที่หลวม น้ำหนักเบา
  • หลีกเลี่ยงการถูกแดดเผา (Sunburn) เช่น การใส่หมวกปีกกว้าง การใช้ยาทากันแดดที่มีค่า SPF อย่างต่ำที่ 15
  • ดื่มน้ำให้มาก
  • ระวังการใช้ยา
  • อย่าให้ใครนั่งอยู่ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง เพราะอุณหภูมิในรถสามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 6.7° C ภายในระยะเวลา 10 นาที
  • จำกัดเวลาในการทำงานหรือออกกำลังกายกลางแดดเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวให้ชินกับสภาพอากาศที่ร้อน

อนึ่ง กรณีที่พบผู้ป่วยเป็นโรคลมแดดให้ปฐมพยาบาลผู้ป่วยดังนี้

  • นำผู้ป่วยเข้าในที่ร่ม
  • คลายเสื้อผ้าที่ใส่ให้หลวม
  • ทำให้ผู้ป่วยตัวเย็นลงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เช็ดด้วยผ้าเย็น ฉีดสเปรย์ พัดลม วางไอซ์แพค (Ice pack) หรือวางผ้าขนหนูเปียกบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบของผู้ป่วย
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ เช่น น้ำเปล่า น้ำเกลือแร่ แต่ห้ามให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์

แหล่งข้อมูล:

  1. Heatstroke. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heat-stroke/symptoms-causes/syc-20353581 [2020, May 4].
  2. Heatstroke, First Aid. https://www.skinsight.com/skin-conditions/first-aid/first-aid-heatstroke?Imiw9cApl [2020, May 4].