แดดจัดเสี่ยงตาย (ตอนที่ 11 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 12 พฤษภาคม 2563
- Tweet
ปัจจัยเสี่ยงของการมีปฏิกิริยาต่อการแพ้ (ต่อ)
- การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ผิวไหม้แดดเร็วกว่าปกติ เช่น
- ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline)
- ยาที่มีส่วนประกอบของยาซัลฟา (Sulfa-based drugs)
- ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines)
- ยาคีโม (Chemotherapy medications)
- ยาเกี่ยวกับหัวใจ (Cardiac drugs)
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
- ยารักษาโรคหวาน
- เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Dermatitis)
- มีญาติพี่น้องมีอาการแพ้แดด
สำหรับการป้องกันทำได้โดย
- หลีกเลี่ยงแดดในช่วงเวลาที่มีแดดจัด
- หลีกเลี่ยงการออกแดดจัดทันทีทันใด โดยให้เวลาเซลล์ผิวหนังได้มีเวลาปรับตัวกับแสงแดดบ้าง
- ใส่แว่นกันแดดหรือเสื้อผ้าที่ปกปิด เช่น เสื้อแขนยาว หมวกปีกกว้าง
- ใช้ยากันแดดดที่มีค่า SPF อย่างต่ำที่ 30
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผิวหนังมีปฏิกิริยา เช่น ยาบางชนิดที่ไวต่อแสง
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคด้วยการดูผิวหนัง หรือ ใช้วิธีดังต่อไปนี้
- การทำทดสอบแสง (Phototesting) ด้วยการดูปฏิกิริยาของผิวหนังที่มีต่อแสงยูวีที่มีความยาวคลื่น (Wavelengths) ที่ต่างกัน
- การทำทดสอบผิวหนัง (Photopatch testing) ด้วยการแปะแผ่นที่คิดว่าเป็นสารแพ้ก่อนออกแดด
- การตรวจเลือดและตัวอย่างผิวหนัง (Biopsy)
หากเป็นอาการระดับอ่อนสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่กรณีรุนแรงต้องใช้ยาหรือครีมสเตียรอยด์ช่วย รวมถึงการประคบเย็น
สำหรับการดูแลตัวเองทำได้โดยการ
- หลีกเลี่ยงแสงแดด
- หยุดใช้ยาที่ทำให้ผิวไวต่อแสงแดด
- เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว เช่น การใช้โลชั่นทา
- ใช้ยาคาลาไมน์ (Calamine)
แหล่งข้อมูล:
- Sun allergy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sun-allergy/symptoms-causes/syc-20378077 [2020, May 11].
- How to Recognize a Sun Rash. https://www.healthline.com/health/sun-rash [2020, May 11].
- Sun Allergy. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17681-sun-allergy [2020, May 11].