แกรนูโลมา (Granuloma)

บทความที่เกี่ยวข้อง
แกรนูโลมา

บทนำ

แกรนูโลมา(Granuloma หรือ Granulomatous inflammation) คือก้อนเนื้อเล็กๆที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง โดยเป็นการรวมตัวกันของเซลล์กลุ่มที่เรียกว่า แมคโครเฟจ(Macrophage, เม็ดเลือดขาวที่จับกินสิ่งแปลกปลอม/เชื้อโรคต่างๆ/ฮีสติโอไซต์)

ในแกรนูโลมาจะประกอบด้วย

  • เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อโรค/สิ่งแปลกปลอมต่างๆอยู่ในเซลล์ ที่มีทั้งเซลล์ Neutrophil, Lymphocyte, Eosinophil
  • เซลล์อักเสบ/เซลล์ขนาดใหญ่ที่มีนิวเคลียส/Nucleusหลายนิวเคลียส(Multinucleated giant cell)
  • เซลล์พังผืด(Fibroblast
  • และสารคอลลาเจน
  • บ่อยครั้งจะพบเชื้อโรคชนิดต่างอยู่ในแกรนูโลมาด้วย
  • และบ่อยครั้ง ยังมีหินปูน/แคลเซียมเข้ามาเกาะจับในแกรนูโลมา ซึ่งเรียกว่า Calcified granuloma ที่เป็นตัวบอกว่า แกรนูโลมานี้เกิดนานแล้ว(Old granuloma)

แกรนูโลมา มักตรวจพบจากการตรวจทางพยาธิวิทยาของรอยโรคต่างๆที่เกิดจาก การอักเสบโดยเฉพาะการอักเสบเรื้อรัง เช่น ในรอยโรคของ วัณโรค, โรคเรื้อน, โรคโครห์น (Crohn's disease), โรคลิสทีเรีย( Listeria), โรคฮิสโตพลาสโมซิส(Histoplasmosis)

อาการ:

ทั้งนี้ ตัวแกรนูโลมาเอง ไม่ก่ออาการทางคลินิก แต่จะเป็นอาการจากโรคนั้นๆที่เป็นสาเหตุให้เกิดแกรนูโลมา

การวินิจฉัย:

แพทย์วินิจฉัยแกรนูโลมาได้จาก

  • ทั่วไป แพทย์ตรวจพบแกรนูโลมาได้จากการตรวจรอยโรคจากการตรวจทางพยาธิวิทยา
  • แต่ถ้าแกรนูโลมามีขนาดใหญ่พอ เช่น ตั้งแต่ 1-2 มิลลิเมตรขึ้นไป แพทย์สามารถตรวจพบแกรนูโลมาได้จาก เอกซเรย์ , เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(ซีทีสแกน), และ/หรือ เอมอาร์ไอ

อนึ่ง :

  • “แกรนูโลมา” ความหมายทางการแพทย์ คือ “ก้อนเนื้อ หรือตุ่มที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง”
  • แกรนูโลมา นอกจากเกิดจากการอักเสบจากเชื้อโรคต่างๆแล้ว ยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆอีก เช่น
    • จากสารเคมีต่างๆที่รวมถึงสารชีวเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง/การอักเสบเรื้อรังต่อเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Granuloma[2020, June27]