เอ็มดีเอส (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

เอ็มดีเอส-4

      

      สำหรับการวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วย

• การตรวจเลือด – เพื่อดูจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด รวมถึงดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ขนาด รูปร่าง ที่ผิดไปจากลักษณะปกติ

• การเจาะและดูดน้ำไขกระดูก (มักทำที่บริเวณกระดูกสะโพก) เพื่อตรวจหาความผิดปกติ

• การตรวจวิเคราะห์เซลล์ (Flow cytometry) และการย้อมชิ้นเนื้อด้วยแอนติบอดีย์ (Immunocytochemistry)

• การตรวจโครโมโซม (Chromosome tests)

      ส่วนใหญ่การรักษามักพุ่งเป้าเพื่อลดพัฒนาการของโรคให้ช้าลง รักษาอาการอ่อนเพลีย ป้องกันเลือดไม่หยุด และป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งทำได้ด้วยการ

• การถ่ายเลือด (Blood transfusions)

• การให้ยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

      o เพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดที่ร่างกายสร้าง หรือที่เรียกว่า โกรทแฟคเตอร์ (Growth factors) เช่น ยา Epoetin alfa หรือ ยา Darbepoetin alfa ที่ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อลดความจำเป็นในการถ่ายเลือด หรือ ยา Filgrastim ที่อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อด้วยการเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว

      o การกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดให้เจริญเติบโต เช่น ยา Azacitidine และ ยา Decitabine

      o การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความจำเป็นในการถ่ายเลือด

      o การลดความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กรณีที่มีความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดที่เรียกว่า isolated del(5q) แพทย์อาจให้ยา Lenalidomide

      o ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เพื่อรักษาการติดเชื้อ

      o เคมีบำบัดเพื่อฆ่าเซลล์

• การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplant) หรือ การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stem cell transplant) ซึ่งจะมีการให้ยาเคมีเพื่อทำลายเซลล์เม็ดเลือดที่เสียออกจากไขกระดูกและเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่ดีแทน อย่างไรก็ดี เนื่องจากวิธีนี้มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง จึงมีการใช้กันน้อย

      และเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่ำ ดังนั้นจึงมีโอกาสในการติดเชื้อซ้ำอยู่บ่อยๆ ดังนั้นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อสามารถทำได้ด้วยการ

• ล้างมือให้สะอาดอยู่บ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะก่อนการกินอาหารหรือทำอาหาร หรือใช้เจลล้างมือกรณีที่ไม่มีน้ำ

• ปรุงอาหารให้สุก หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่ไม่มีเปลือก และล้างให้สะอาดก่อนปลอกเปลือก

• หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่ไม่สบาย เช่น คนในบ้าน หรือ เพื่อนร่วมงาน ที่ป่วย

      นอกจากนี้ ควรดูแลตัวเองด้วยการ

• เลิกบุหรี่

• กินอาหารที่มีประโยชน์

• ออกกำลังกายเป็นประจำ

• รักษาน้ำหนักให้พอดี

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Myelodysplastic syndromes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myelodysplastic-syndrome/symptoms-causes/syc-20366977 [2019, March 20].
  2. What Are Myelodysplastic Syndromes?. https://www.cancer.org/cancer/myelodysplastic-syndrome/about/what-is-mds.html [2019, March 20].