เหล่แล้วรีบแก้ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 13 มีนาคม 2564
- Tweet
สำหรับการวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการ
- สอบประวัติครอบครัวและตรวจสภาพร่างกาย
- การวัดสายตา (Visual Acuity)
- ดูการหักเห (Refraction)
- การทดสอบการเคลื่อนไหวและการโฟกัสของตา (Alignment and focus tests)
ทั้งนี้ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ผลการรักษาที่ดีมาก โดยเฉพาะการรักษาก่อนอายุ 2 ปี ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยการ
- ใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์
- ใช้เลนส์ปริซึม (Prism lenses) เพื่อแก้ไขแสงที่เข้าสู่ตาและลดการเคลื่อนไหวของตาในการมองวัตถุสิ่งของ
- การฝึกกล้ามเนื้อตา (Vision therapy) เพื่อช่วยให้ตาและสมองทำงานได้ดีขึ้น
- การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา (Eye muscle surgery) ให้มีขนาดหรือตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้การมองเห็นดีขึ้น
กรณีที่ไม่ได้ทำการรักษา อาจมีผลให้เกิด
- ภาวะตาขี้เกียจ (amblyopia)
- มองเห็นภาพไม่ชัด (Blurry vision)
- อาการเมื่อยล้าทางสายตา (Eye Strain)
- อ่อนเพลีย (Fatigue)
- ปวดศีรษะ
- เห็นภาพซ้อน
- การเห็นภาพ 3 มิติไม่ดี (Poor 3-dimensional vision)
ส่วนการป้องกันที่ทำได้ก็คือการตรวจตา ซึ่งเด็กควรได้รับการตรวจสุขภาพตาก่อนอายุ 6 เดือน และตรวจอีกครั้งตอนอายุ 3-5 ปี
แหล่งข้อมูล:
- Crossed Eyes (Strabismus). https://www.health.harvard.edu/a_to_z/crossed-eyes-strabismus-a-to-z [2021, March 12].
- Strabismus (crossed eyes). https://www.aoa.org/healthy-eyes/eye-and-vision-conditions/strabismus?sso=y [2021, March 12].
- Strabismus (Crossed Eyes). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15065-strabismus-crossed-eyes [2021, March 12].