เสริมเมลาโทนินดีจริงหรือ ? (ตอนที่ 4 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 4 กันยายน 2563
- Tweet
เด็กและวัยรุ่น | 0.5-3 มก. หรือสูงสุดไม่เกิน 6 มก. ในกรณีที่นอนไม่หลับรุนแรง |
ผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็ตแล็ก | 0.5-5 มก. หลายชั่วโมงก่อนเวลาที่อยากให้นอนและใช้ต่อเนื่องอีกหลายวันเมื่อถึงที่หมาย |
ผู้ใหญ่ที่ทำงานเป็นกะ | 2-3 มก.ก่อนเวลาที่อยากให้นอนแต่หลังจากที่ขับรถถึงบ้านแล้ว |
ผู้ใหญ่อายุ 55 ปี ขึ้นไป | วันละ 2 มก. เป็นเวลา 13 สัปดาห์ โดยกิน 1-2 ชั่วโมงก่อนเวลานอน |
ทั้งนี้ The National Health Service (NHS) ของอังกฤษได้แนะนำให้กินเมลาโทนิน 1-2 ชั่วโมงก่อนเวลาที่อยากให้นอนหลับ
สำหรับกรณีที่มีการใช้เกินปริมาณ (Overdose) จะมีอาการดังนี้
- ปวดศีรษะ
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- ท้องเสีย
- ปวดข้อ
- วิตกกังวล
- หงุดหงิด
ส่วนผลข้างเคียงของการใช้เมลาโทนินที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- เวียนศีรษะ
- เซื่องซึม
การใช้เมลาโทนินจะปลอดภัยเมื่อใช้ในช่วงสั้น ส่วนการใช้เมลาโทนินในระยะยาวยังต้องรองานวิจัยเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ การใช้เมลาโทนินในทารก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
โดยสรุป เนื่องจากมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมลาโทนินน้อยและยังไม่มีความชัดเจนของข้อมูลที่เพียงพอ จึงต้องการงานวิจัยเกี่ยวกับเมลาโทนินเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ก่อนใช้เมลาโทนินควรปรึกษาแพทย์ก่อน
แหล่งข้อมูล:
- All you need to know about melatonin. https://www.medicalnewstoday.com/articles/232138 [2020, September 3].
- Melatonin: What You Need To Know. https://www.nccih.nih.gov/health/melatonin-what-you-need-to-know [2020, September 3].
- Melatonin Overdose. https://www.healthline.com/health/melatonin-overdose#recommended-doses [2020, September 3].