เสริมเมลาโทนินดีจริงหรือ ? (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 2 กันยายน 2563
- Tweet
เราสามารถพบเมลานินได้ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะถั่วพิซตาชิโอ (Pistachios) นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารต่อไปนี้
- ไข่
- ปลา
- องุ่น
- เชอรี่ (Tart cherries)
- สตรอเบอรี่
- มะเขือเทศ
- พริกไทย
- เห็ด
ส่วนอาหารเสริมเมลาโทนิน (Melatonin supplements) สามารถผลิตได้จากสัตว์หรือชีววัตถุ แต่ไม่แนะนำให้ใช้เมลาโทนินธรรมชาติที่ได้จากต่อมไพเนียลของสัตว์ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของไวรัสได้ โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้เมลาโทนินที่เกิดจากการสังเคราะห์แทน
โดยมีการใช้เมลาโทนินเพื่อช่วยในกรณีบางอย่าง เช่น
- เจ็ตแล็ก (Jet lag)
- ผู้มีปัญหาเรื่องการนอน (Sleep disorders) ช่วยลดเวลาในการนอนช่วงก่อนหลับ ช่วยทำให้นอนได้นานขึ้น และเพิ่มคุณภาพการนอน
- ผู้ที่มีอาการวิตกจริตทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด
- เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder = ADHD) หรือ โรคออทิสติก (Autism)
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ระบุถึงการใช้เมลาโทนินที่แตกต่างกันไป ซึ่งยังจำเป็นต้องอาศัยการทำวิจัยเพิ่มเติมอีกมากด้วยกัน เช่น
- อาจช่วยลดอาการปวดในกรณีของไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ [Cluster headaches เป็นภาวะปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวข้างเดียว หรืออาจปวดบริเวณรอบดวงตา ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นหลายครั้งภายในวันเดียว ในขณะที่ปวดหัวอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง น้ำมูกไหล เวียนหัว เป็นต้น]
แหล่งข้อมูล:
- All you need to know about melatonin. https://www.medicalnewstoday.com/articles/232138 [2020, September 1].
- Melatonin: What You Need To Know. https://www.nccih.nih.gov/health/melatonin-what-you-need-to-know [2020, September 1].