เลือดเป็นกรดคลอไรด์ (Hyperchloremic acidosis)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 22 ตุลาคม 2560
- Tweet
- สารละลายน้ำเกลือ (Saline or Sodium chloride solution)
- สารน้ำทดแทนเลือดและเพิ่มปริมาตรพลาสมาแก่ร่างกาย (Blood and plasma volume expander)
- ภาวะช็อก อาการช็อก (Shock)
- ท้องเสีย (Diarrhea)
- ยาแก้ท้องผูก (Anticonstipation)
- ยาแก้ไอ (Tips cough)
- ยาขับเสมหะ (Expectorants) และยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
- โรคไต (Kidney disease)
เลือดเป็นกรดจากคลอไรด์/ภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์(Hyperchloremic acidosis หรือ Hyperchloremic metabolic acidosis) คือ ภาวะที่ร่างกายมีคลอไรด์(Chloride)ในเลือดสูง ขณะที่มีไบคาร์โบเนต (Bicarbonate) ในเลือดต่ำ ซึ่งเลือดเป็นกรดชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเลือดเป็นกรดเมตะบอลิก(Metabolic acidosis) ซึ่งสาเหตุเกิดเลือดเป็นกรดคลอไรด์มักเกิดจากร่างกายมีการสูญเสียสารที่ใช้จับกับกรดที่ทำให้เกิดเป็นเกลือที่เรียกสารกลุ่มนี้ว่า “Base” ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เลือดเป็นกรดคลอไรด์มีได้หลายสาเหตุ เช่น
- การสูญเสียเกลือแร่ ไบคาร์โบเนต จากโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียรุนแรง การใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูกต่อเนื่องเป็นประจำ
- โรคไต
- อื่นๆ: เช่น ร่างกายได้รับคลอไรด์สูง เช่นจากยา Ammonium chlorideที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในยาแก้ไอ หรือยาขับเสมหะ บางชนิด, การได้รับสารน้ำSodium chloride ทางหลอดเลือดดำต่อเนื่องในปริมาณมากในการกู้ชีวิต, จากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ(Hyperalimentation)ต่อเนื่อง
อาการ:
อาการของภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์ เช่น คลื่นไส้ อาจอาเจียน อ่อนเพลีย และร่วมกับอาการของโรค/ภาวะที่เป็นสาเหตุ
การวินิจฉัย:
แพทย์วินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์ได้จาก ประวัติทางการแพทย์ อาการผู้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่รวมถึงการตรวจเลือดดูค่า คลอไรด์
การรักษา:
การรักษาภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์ คือ การรักษาสาเหตุ การให้เกลือแร่ เพื่อแก้ไขให้เลือดมีภาวะสมดุลของกรด-ด่าง และการรักษาประคับประคองตามอาการ
การพยากรณ์โรค:
การพยากรณ์โรคของภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์ ขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสาเหตุรุนแรง ภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์ สามารถเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Hyperchloremic_acidosis [2017,Sept30]
- https://medlineplus.gov/ency/article/000335.html [2017,Sept30]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Metabolic_acidosis [2017,Sept30]
Updated 2017,Sept30