เลือดเป็นกรด (Acidosis)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 1 เมษายน 2561
- Tweet
- มะเร็ง (Cancer)
- โรคตับ (Liver disease)
- โรคไต (Kidney disease)
- โรคปอด โรคของปอด โรคทางปอด (Pulmonary disease)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- เลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis)
- เลือดเป็นกรดคลอไรด์ (Hyperchloremic acidosis)
- เลือดเป็นกรดจากกรดแลคติก (Lactic acidosis)
ความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH ของเลือด/ของร่างกายจะเป็นตัวช่วยให้การทำงานของเซลล์ และของเนื้อเยื่อทุกชนิดให้ทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งโดยทั่วไปเลือดของคนปกติจะมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 7.35 - 7.45 แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ค่า pH ของเลือดต่ำกว่า 7.35 จะจัดว่าร่าง กาย/เลือดมี ”ภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis)” ซึ่งค่า pH ของร่างกายนี้แพทย์ตรวจทราบได้จาก อาการผู้ป่วยร่วมกับการตรวจเลือดดูค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือด และจากการตรวจปัสสาวะดูค่าความเป็นกรดด่างของปัสสาวะ
ความเป็นกรด-ด่างในร่างกายจะขึ้นอยู่กับสมดุลของเกลื่อแร่ต่างๆและรวมถึงปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ดังนั้นความเป็นกรด-ด่างของร่างกายจึงถูกควบคุมให้อยู่ในสมดุลโดย 2 อวัยวะคือ ไตที่ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ และปอดที่ควบคุมปริมาณของกาซคาร์ บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อเลือดเป็นกรดโดยเกิดจากไตเรียกว่า “เลือดเป็นกรดเมตะบอลิก(Metabolic acidosis)” ส่วนที่เมื่อ เกิดจากปอดจะเรียกว่า “เลือดเป็นกรดจากระบบหายใจ(Respiratory acidosis)”, เกิดจากเบาหวาน เรียกว่า เลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน/เลือดเป็นกรดจากเบาหวาน(Diabetic acidosis หรือ Ketodiabetic acidosis ย่อว่า KDA), เกิดจากกรดแล็กติก เรียกว่า เลือดเป็นกรดจากกรดแลคติก(Lactic acidosis), เกิดจากคลอไรด์ เรียกว่า เลือดเป็นกรดคลอไรด์(Hyperchloremic acidosis)
ดังนั้นกลไกที่ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดคือ โรคหรือภาวะผิดปกติของไตและ/หรือของ ปอด ซึ่งอาจมีสาเหตุได้จาก
- โรคของไต หรือโรคของปอด
- โรคมะเร็ง
- โรคตับ
- ผลข้างเคียงจากยาต่างๆเช่น ยาในกลุ่ม Salicylates
- ดื่มสุราจัด
- ภาวะมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูง
- ภาวะร่างกายขาดออกซิเจนเช่น จากอาการลมชัก จากภาวะช็อก
- ภาวะขาดน้ำรุนแรง
อาการที่สำคัญของภาวะเลือดเป็นกรดคือ อ่อนเพลียมาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย สับสน ง่วงซึม
แพทย์วินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรดได้จาก ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยเช่น การใช้ยาต่างๆ โรคประจำตัว การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูค่า pH และค่าเกลือแร่ (Electrolyte) และการตรวจปัสสาวะดูค่า pH ของปัสสาวะ
การรักษาภาวะเลือดเป็นกรดคือ การแก้ไขให้ pH ของเลือดกลับมาสู่ภาวะปกติโดยการให้น้ำและให้เกลือแร่ทางหลอดเลือดดำและการให้ออกซิเจนร่วมกับการรักษาสาเหตุของอาการ เช่น การรักษาโรคไตหรือโรคปอดแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้การพยากรณ์โรคของภาวะเลือดเป็นกรดขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของแต่ละสา เหตุ แนะนำอ่านเพิ่มเติมในแต่ละสาเหตุดังกล่าวจากเว็บ haamor.com
อนึ่ง คำว่า “Acidosis” หมายถึง กระบวนการ(Process)ที่ทำให้เกิดมีกรดในเลือดสูง ส่วนเมื่อเลือดมีค่า pH ต่ำกว่าปกติ จะเรียกว่า “Acidemia”
บรรณานุกรม
- https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001181.html [2018,March10]
- http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=10001 [2018,March10]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Acidosis [2018,March10]
Updated 2018,March10