เลือดข้นคนจาง (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 7 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดข้นอาจได้แก่
- มีอายุประมาณ 60 ปี
- มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- มีการกลายพันธุ์ของยีน (Genetic mutation) ที่เรียกว่า Janus kinase 2 (JAK2) gene
- มีโรคปอดเรื้อรัง ผู้สูบบุหรี่
- ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อยู่เป็นประจำ
อาการจะค่อยๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่สูง ทั้งนี้ อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่
- เวียนศีรษะหรือมีอาการบ้านหมุน
- ปวดศีรษะ
- มีเหงื่อออกมาก
- คันตามผิวหนัง
- มีเสียงดังในหู
- มองเห็นภาพไม่ชัด
- หายใจลำบาก
- อ่อนเพลีย
- ผิวที่ฝ่ามือ ใบหู และจมูก มีสีแดง
- เลือดไหลไม่หยุด (Bleeding) หรือ ห้อช้ำ (Bruising)
- รู้สึกแสบไหม้บริเวณเท้า
- ท้องอืด (Abdominal fullness)
- เลือดกำเดาไหลบ่อย
- เลือดออกตามไรฟัน
- ไอเป็นเลือด (Hemoptysis)
- ประจำเดือนมามาก
- ปวดข้อ
แหล่งข้อมูล:
- Polycythemia.https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/cancer/polycythemia.html [2020, November 1].
- Polycythemia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/polycythemia#causes [2020, November 1].
- Polycythemia (high red blood cell count) definition and facts. https://www.medicinenet.com/polycythemia_high_red_blood_cell_count/article.htm [2020, November 1].