สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน Limbal Stem Cell Culture

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-90

      

      การรักษาภาวะบกพร่อง stem cell ด้วยวิธีปลูกถ่าย stem cell ซึ่งอาจนำมาจากตาอีกข้างหนึ่งที่เรียก autologous stem cell transplant ซึ่งทำได้ผลดีมาก เพราะเป็น cell ของผู้ป่วยเอง ไม่มีปัญหาของการ rejection แต่ทำได้เฉพาะผู้ป่วยเป็นโรคข้างเดียว อีกข้างยังดี ในกรณีที่เป็นตา 2 ข้างไม่มี limbal stem cell ที่ดีเหลือ จำเป็นต้องเอาจากตาคนอื่นที่บริจาคเรียกว่าเป็น allograft transplant ซึ่งผู้ป่วยต้องได้ยากดภูมิเฉกเช่นการเปลี่ยนอวัยวะจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งทั่วไป ซึ่งยากดภูมิมีราคาแพง มีผลข้างเคียง

      ด้วย limbal stem cell จากผู้ให้ (donor) ซึ่งเอาจากตาอีกข้างของผู้ป่วยหรือตาบริจาคมีอยู่จำนวนจำกัด อีกทั้งทางการรักษาตาบางอย่าง หมอตาได้นำเยื่อหุ้มรก (amniotic membrane) มาใช้แทนเยื่อบุตา พบว่าเยื่อหุ้มรกทั้งชั้น epithelium และ stroma เต็มไปด้วย cytokine ซึ่งมีผลดีต่อการมีชีวิตของ cell อีกทั้งชั้น collagen ใน basement membrane ยังช่วยให้ cell มี migration และช่วยทำให้ cell ยึดติด (adhesion) กับเนื้อเยื่อใกล้เคียง ประกอบด้วยตัวรกไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา immune (non-immunogenic) ตั้งแต่ปี 2000 Dr Tsai และคณะได้รายงานว่าสามารถใช้เยื่อหุ้มรกเป็น substrate ในการเพาะขยาย limbal stem cell ได้ ตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine และมีการทดลองศึกษากันเรื่อยมา กล่าวคือเอา limbal stem cell จากตาที่บริจาคขนาดเล็กมาเพาะเลี้ยงในเนื้อเยื่อหุ้มรกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วค่อยนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย นับเป็นการก้าวหน้าของการรักษาโรคผิวตาด้วย limbal stem cell มากขึ้น คงต้องรอดูผลการทำระยะยาวว่า limbal stem cell ที่เพาะเลี้ยงในเยื่อหุ้มรกมีคุณภาพดีเท่าตัวเดิมไหม