สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน สาเหตุตาบอด

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-86

      

      จากบทความเรื่อง The first rapid assessment of avoidable blindness in Thailand ใน Plos One เดือนธันวาคม 2014 เป็นการสำรวจ ปี 2013 โดยการสุ่มจากสถิติตรวจหาสาเหตุของตาบอดและตามัวใน 11 จังหวัด จังหวัดละ 2 อำเภอในประชากรอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ได้แก่ กรุงเทพฯ, กาญจนบุรี, จันทบุรี, ปทุมธานี, เชียงใหม่, เพชรบูรณ์, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ยโสธร, ชุมพร, สงขลา และจำนวน 21,000 คน (ได้รับการตรวจ 20,044 คน) เป็นชาย 37.2% หญิง 62.8% อายุ 50-59 ปี จำนวน 43.1% อายุ 60-69 ปี จำนวน 37.5 อายุ 70-80 ปี จำนรวน 16.2% อายุ 80 ปี ขึ้นไป จำนวน 3.2%

      ผลการศึกษาพบว่ามีตาบอด (สายตาน้อยกว่า 20/400) จำนวน 0.6% ตามัวมาก (สายตา 20/400 – 20/200) จำนวน 1.3% และสายตามัวปานกลาง (สายตา 20/200 – 20/70) จำนวน 12.6% (ทั้งนี้ใช้ตาข้างที่ดีซึ่งแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้วเป็นหลัก) ในกลุ่มตาบอดที่มีอยู่ 0.6% นั้น มีสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่

  • ต้อกระจก 69.7%
  • โรคตาส่วนหลัง 6.1%
  • เบาหวาน 5.1%
  • สายตาผิดปกติ 4.0%
  • ต้อหิน 4.0%
  • ตาฝ่อ 4.0%
  • Aphakia uncorrected 2.0%
  • กระจกตาเป็นฝ้า 2.0%
  • AMD 2.0%
  • ผลการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจก 1.0%

      ในกลุ่มตาบอดพบว่า

  • 76.8% รักษาได้ ได้แก่ต้อกระจกที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด สายตาผิดปกติ และต้อกระจกที่ผ่าแล้วแต่ยังมีสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข (uncorrected aphakia)
  • 17.0% เป็นโรคป้องกันได้
  • 92.1% เป็นโรคหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ โรคที่รักษาได้ ป้องกันได้
  • 20.5% เป็นโรคส่วนหลังลูกตา (posterior segment)

      หากจะเปรียบเทียบจำนวนมีภาวะตาบอด เทียบกับการตรวจที่มีมาก่อนและพบจำนวนต้อกระจกตกค้าง พบดังนี้

  ปี ค.ศ. จำนวนตาบอด ต้อกระจกตกค้าง
 ครั้งที่ 1 1983 1.14% 270,000
 ครั้งที่ 2 1987 0.58% 270,000
 ครั้งที่ 3 1994 0.31% 270,000
 ครั้งที่ 4 2006 0.59% 270,000
 ครั้งที่ 5 2013 0.60% 270,000

หมายเหตุ การตรวจ 4 ครั้งแรก เป็นการตรวจทุกอายุ ส่วนครั้งสุดท้าย เฉพาะอายุ 50 ปีขึ้นไป