สาระน่ารู้จากหมอตาตอน อาหารที่ป้องกันโรคต้อกระจก
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
- 21 กุมภาพันธ์ 2562
- Tweet
เป็นที่ทราบกันดีว่า ต้อกระจก เป็นโรคตาที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ประชากรของโลกบางส่วนต้องตาบอด รวมทั้งประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดลอกต้อออก แต่เพราะเป็นกันมาก กล่าวคือ ถ้าอายุมากขึ้นกว่า 60 ปี ขึ้นไป มักจะเริ่มเป็น ถือว่าเป็นโรคจากความเสื่อมของแก้วตาตามวัย เมื่ออายุมากขึ้นจึงมักเป็นกันเกือบทุกคน เพียงแต่บางคนเป็นน้อย มีการลุกลามของโรคช้าจนผู้นั้นต้องเสียชีวิตไปโดยไม่ต้องลอกต้อกระจก ในทางตรงข้าม ยุคปัจจุบันการผ่าตัดต้อกระจกทำได้ง่ายขึ้น ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นส่วนใหญ่ จึงมีคนต้องการลอกแต่เนิ่น ๆ กล่าวคือ เป็นต้อขนาดปานกลางก็อยากลอกกัน จากเห็นเพื่อน ๆ ไปทำแล้วเห็นดีขึ้นั่นเอง
เมื่อส่วนใหญ่ของต้อกระจกเป็นจากการเสื่อมของแก้วตาตามอายุ แต่บางคนเป็นเมื่ออายุ 70 ปี บางคนเป็นอายุ 60 ปี ผู่ป่วยเบาหวานเป็นเร็วกว่า จึงมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าอาหารน่าจะเป็นปัจจัยเร่งการเกิดต้อกระจก บ้างก็พบว่าผู้มีภาวะทุโภชนา มักจะเป็นต้อกระจกในอายุน้อย มีรายงานเป็นกลุ่มการศึกษาพบว่าอาหารบางชนิด วิตามินบางตัว อาจชลอต้อกระจกได้ รวมทั้งมีการวิจัยในห้องทดลองในสัตว์พบว่าการขาดสารอาหารบางอย่างเป็นตัวเร่งให้เกิดต้อกระจก แต่การวิจัยในคนค่อนข้างยุ่งยากจากอาหารที่ให้ การดูดซึมของทางเดินอาหารของผู้ป่วย ภาวะเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารบางอย่างแตกต่างกัน จึงค่อนข้างยุ่งยากในการสรุปผลการวิจัย
ล่าสุดมีรายงานใน Current Opinion in Ophthalmology ปี 2019 เรื่องผลของอาหารต่อการเกิดและการเพิ่มของต้อกระจกในผู้สูงอายุ การศึกษาถึงอาหารต่อการเกิดต้อกระจกมีมากมาย บ้างก็เป็นเพียงสังเกตในผู้ป่วยบางกลุ่ม เชื่อถือพอได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่รายงานนี้ได้รวบรวมทำ meta analysis จากงานวิจัยปี 2014-2018 สรุปได้ว่า การได้รับ Vit C, E, A จำนวนมาก ชลอการเกิดต้อกระจก ล่าสุดพบว่า Vit K1 และ Vit D มีผลดีชลอการเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน แต่อาหาร Mediteranian diet และอาหารที่มีนมมากไม่มีผลต่อโรคต้อกระจก
สำหรับ Mediteranian diet ที่เป็นอาหารลดความอ้วน ลดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น ผลไม่ชัดเจน
สำหรับ Vit K1 ซึ่งมีมากในผลไม้ ผักเขียว เช่น Parsley, kale, spinach, endive, broccoli, asparagus ซึ่งเป็นทั้ง antioxidant และ anti-inflammatory น่าจะทำให้เกิดต้อกระจกน้อย มีตัวเลขว่าน้อยกว่า แต่เป็นการศึกษาจากการสอบถาม ไม่ได้ตรวจระดับของ Vit K1 ในเลือดให้เห็นชัดเจนว่ามีค่าสูง จึงยังคงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม
สำหรับ Vit D ซึ่งมีฤทธิ์เป็น antioxidant และมีส่วนในการเกิดโรค AMD, โรคเบาหวานทำลายจอตา และต้อหินจากการลด oxidative stress แต่ตัว Vit D มีผลต่อ protein photooxidation น่าจะดีต่อการเกิดต้อกระจก แต่ UV จากแสงแดดก็พบว่าเป็นตัวเร่งต้อกระจาก และ Vit D ที่เราได้ส่วนใหญ่มากจากแสงแดด อีกทั้งมีการศึกษาพบว่าระดับของ 25 – hydroxy vitamin D ในเลือดที่สูง ลดการเกิดต้อกระจกได้ในผู้ชาย แต่ไม่ลดในผู้หญิง จึงยังไม่ชัดเจน คงต้องรอการศึกษาต่อไป
สำหรับอาหารที่มีส่วนประกอบของนมมาก (dairy diet) ล่าสุดใน case-control study พบว่าไม่มีผลต่อการเกิดต้อกระจก
โดยสรุป การรับประทานอาหารที่ครอบคลุม (balanced diet) ที่มีผลไม้ผักจำนวนมาก มี150 gram protein ต่อวัน มีจำนวน Vit C และ E มาก น่าจะมีผลดีต่อการชลอหรือป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก