สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน สภาพกระจกตามีผลต่อการผ่าตัดต้อกระจกอย่างไร?

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-61

      

      กระจกตา (ชาวบ้านมักเรียกกันว่า ตาดำ = cornea) ที่จริงเป็นอวัยวะที่ไม่มีสี ใส คล้ายกระทะเป็นฝาครอบลูกตาอยู่ สีดำที่เห็นเป็นสีของม่านตาที่อยู่ลึกลงไป ตัวกระจกตาต้องใสเราถึงจะมองเห็นชัด เซลส์ชั้นในสุดของกระจกตาที่เรียกกันว่า endothelium เป็นเซลส์ชั้นเดียวมีความสำคัญทำให้กระจกตาใสอยู่เสมอ จำนวนเซลส์นี้เฉลี่ยมี 3,000/ตารางมิลลิเมตร ในผู้ใหญ่ (young adult) จะลดจำนวนลงตามอายุที่มากขึ้นโดยลดลง 0.3-0.6% ต่อปี คาดกันว่าในคนปกติเมื่ออายุ 80-90 ปีจะคงเหลืออยู่ 70% ผู้ป่วยบางรายมีจำนวนเซลส์นี้น้อยกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มี gutata (ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเอง) หลังผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา พึงต้องระมัดระวัง หากผู้ป่วยจำเป็นต้องรับการผ่าตัดต้อกระจกเมื่ออายุมากขึ้น นั่นคือการมีความผิดปกติเล็กน้อยด้วยจำนวนเซลส์น้อยลง การผ่าตัดอาจทำให้มีการสูญเสียเซลส์นี้มากขึ้นจนถึงขั้นทำให้กระจกตาไม่ใสอีกต่อไป ทำให้สายตาหลังผ่าตัดไม่ดีเท่าที่ควร โดยสรุป ควรให้ความสำคัญของ endothelium ก่อนผ่าตัดเสมอ

      1. โดยเฉพาะผู้มี gutata, Fuch’s และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

      2. ป้องกันการสูญเสีย endothelim ด้วยการใช้ viscoelastic สารที่ปกป้อง endothelium ที่ดีที่สุด

      3. ควรทำการตรวจนับจำนวน endothelium cell ก่อนผ่าตัด

      4. อาจพิจารณาการผ่าตัดโดยเปลี่ยนเป็นอีกวิธีที่ทำให้มีการสูญเสีย endothelium น้อยกว่าการสลายด้วย ultrasound

      5. บางท่านพบว่า ถ้าจำนวน endothelium มีระหว่าง 500-1,000 ตัว/ตารางมิลลิเมตร ให้ความระวังในการผ่าตัด แม้ว่ามีการศึกษาพบว่า อาจมีการสูญเสียระหว่างผ่าตัดพอ ๆ กันผู้มี endothelium จำนวนปกติ แต่เนื่องจากมีอยู่น้อย การสูญเสียเพียงเล็กน้อยอาจมีผลทำให้กระจกตาบวม การมองเห็นลดลง

      6. ถ้ามีอาการตามัวลงในเวลาเช้านานกว่า 2 ชั่วโมง หรือมีความหนาของกระจกตามากกว่า 600 um คงจะต้องให้ความระมัดระวังสูง และแจ้งผู้ป่วยให้ทราบถึงโอกาสที่จะมีปัญหาการมองเห็น ตลอดจนการพิจารณาเปลี่ยนกระจกตา ถ้าเห็นสมควร